วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ประธานชมรมคาราโอเกะฯ ร้องตำรวจภาค 5 ถูกบริษัทเพลงดังล่อชื้อ ให้ตำรวจจับกุม สร้างความเดือดร้อนแก่ร้านคาราโอเกะ ทั่วภาคเหนือ

ประธานชมรมคาราโอเกะฯ ร้องตำรวจภาค 5 ถูกบริษัทเพลงดังล่อชื้อ ให้ตำรวจจับกุม สร้างความเดือดร้อนแก่ร้านคาราโอเกะ ทั่วภาคเหนือ








วันที่ 8 พ.ย.62 เวลา 14.00 น. ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าคาราโอเกะ กว่า 50 คน รวมตัวถือป้ายประท้วงการกระทำของกลุ่มที่อ้างตัวเป็นตัวแทนบริษัทลิขสิทธิ์เพลง ที่ออกตะเวนหาเงินบนความเดือดร้อนของผู้ประกอบการร้านร้านคาราโอเกะ โดยที่กลุ่มบริษัทฯ เหล่านี้ไม่แจ้งว่าเพลงของตนคือเพลงอะไร แต่จะมาขอจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่ขอจัดเก็บให้ถูกต้องจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เหมือนค่ายเพลงอื่นๆ แต่อาศัยวิธีการล่อซื้อตามร้านต่างๆ แล้วนำไปแจ้งความเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบ เหมือนกรณี ลิขสิทธิ์กระทงที่เป็นข่าวครึกโครมในขนะนี้ โดยระหว่างชุมนุมประท้วง ทางตัวแทน ผบช.ภ.5 นำโดยพ.ต.อ.ชินวิช วิชัยธนพัฒน์ รองผบก.สส.ภ.5 พ.ต.อ.ปรีชา เนตรประชา ผกก.สอบสวน บก.สส.ภ.5 เข้ามารับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มผู้ประกอบการฯ




ทางด้านนายวิจิตร ลิ้มสมบัตรอนันต์ ประธานชมรมคาราโอเกะแห่งประเทศไทยและภาคเหนือ ตัวแทนผู้ชุมนุมประท้วงเปิดกับผู้สื่อข่าวว่า เดิมทีการประกอบการเพลงคาราโอเกะ ตามร้านต่างๆ ทุกร้านทั้งที่เป็นตู้คาราโอเกะ หรือคอมพิวเตอร์ จะมีการซื้อลิขสิทธิ์เพลง จากค่ายเพลงต่างๆ ที่จดทะเบียนการเก็บค่าลิขสิทธิ์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยค่ายหนึ่งก็มีเพลงมากมายเฉลี่ยเดือนละ1,000 หรือมากกว่านั้นนิดหน่อย บางค่ายก็เก็บราย 3 เดือนหรือรายปี แล้วแต่ค่ายเพลงใหญ่หรือเล็ก ซึ่งทุกร้านก็ประกอบการถูกต้องมาโดยตลอดเพื่อป้องกันการกระทำที่ผิดกฏหมาย แต่มาในห้วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้มีกลุ่มคนอ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัทแห่งหนึ่ง (บริษัทเอ็มเอ็น มิวสิค) มีนาย ม. เป็นหัวหน้าทีมได้ส่งคนไปทำการล่อซื้อตามร้านต่างๆทั่วจังหวัดเชียงใหม่ โดยทำทีมานั่งกิน และขอร้องเพลง "รักสาวลูกสอง" และเพลง "ยาดองน้องลืม" หากร้านไหนมีเปิดก็จะถูกถ่ายคลิบ ถ่ายภาพ หากร้านไหนไม่มีก็จะทำทีขอเปิดในยูทูป และก็ดำเนินการถ่ายภาพแล้วนำไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่นั้นๆ เมื่อพนักงานสอบสวนรับเรื่องก็จะเรียกผู้ประกอบการร้านไปแล้วบอกว่ามีความผิดตามกฏหมายตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มีโทษหนักแต่หากไม่อยากถูกดำเนินคดีก็จะเจรจากับเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ โดยแรกเริ่มก็จะเรียกค่าจบคดี 25,000 ถึง 35,000 บาท แต่ส่วนใหญ่ก็จะจบที่ตัวเลข 20,000 บาท โดยก่อนหน้านี้มีร้านที่ยอมจบคดีไปกว่า 20 ร้านค้า และมีบางร้านที่ปรึกษากับทางกลุ่มชมรมคาราโอเกะฯ และตัดสินใจสู้คดีกว่า 40 ร้าน โดยในตอนนี้คดีก็ขึ้นสู่ชั้นพนักงานอัยการเป็นส่วนใหญ่


สำหรับบริษัทค่ายเพลงอื่นๆ ที่ขึ้นทะเบียนเก็บค่าลิขสิทธิ์กับทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ส่วนใหญ่หากเพลงในค่าย มีการย้ายบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์หรืออื่นๆ ทางบริษัทต่างๆ ก็จะมีการแจ้งให้ผู้ประกอบการทำการเปลี่ยนการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ หรือหากเลยกำหนดเวลา ก็จะมีการแจ้งเตือนทุกปีไม่เคยมีปัญหาใดๆ แต่กับเพลงทั้งสองมีการเปลี่ยนค่ายจัดเก็บ และเป็นค่ายที่ไม่ขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงเป็นเรื่องที่ทำให้ทุกคนชวนสงสัย และพฤติกรรมการดำเนินการก็จะมาล่อซื้อเปิดเพลง วอนขอให้ทางร้านเปิด แล้วถ่ายรูปไปแจ้งความแบบนี้ น่าจะเข้าข่ายเป็นผู้กระทำผิดเสียเองมากกว่า ในส่วนพนักงานสอบสวนก็ดูเป็นใจ ให้กับกลุ่มบริษัทเหล่านี้ในการดำเนินการขูดรีดเอาเงินกับทางประชาชน ทำทีไม่ทำคดีจะผิดมาตรา 157 แต่จะช่วยไกล่เกลี่ยให้ ซึ่งก็เหมือนว่าอยู่ฝ่ายลิขสิทธิ์




ซึ่งการเข้ามาร้องเรียนวันนี้ ก็เพราะอยากให้ทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ดำเนินการตรวจสอบกลุ่มพนักงานสอบสวน ที่อยู่ฝ่ายลิขสิทธิ์ เหล่านี้ว่ามีการดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนหรือไม่ และไม่อยากให้เกิดเป็นกรณีแบบลิขสิทธิ์กระทง ที่ข่มขู่หลอกเอาเงินเด็ก สำหรับคดีที่เกิดขึ้นกว่า 40 คดี ทางชมรมคาราโอเกะฯ ก็จะต่อสู้ในชั้นศาลกับกลุ่มตัวแทนลิขสิทธิ์อย่างถึงที่สุดแน่นอน.




ซึ่งการเข้ามาร้องเรียนวันนี้ ก็เพราะอยากให้ทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ดำเนินการตรวจสอบกลุ่มพนักงานสอบสวน ที่อยู่ฝ่ายลิขสิทธิ์ เหล่านี้ว่ามีการดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนหรือไม่ และไม่อยากให้เกิดเป็นกรณีแบบลิขสิทธิ์กระทง ที่ข่มขู่หลอกเอาเงินเด็ก สำหรับคดีที่เกิดขึ้นกว่า 40 คดี ทางชมรมคาราโอเกะฯ ก็จะต่อสู้ในชั้นศาลกับกลุ่มตัวแทนลิขสิทธิ์อย่างถึงที่สุดแน่นอน.

ทรงวุฒิ ทับทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น