"นายกบุญเลิศ" ปล่อยขบวนรถขยะอันตราย พร้อมผลักดันทุกภาคส่วนร่วมคัดแยกขยะที่ก่อเกิดมลพิษใน จ.เชียงใหม่
วันที่ 7 พ.ย.2562 เวลา 09.30 น. ที่บริเวณลานหน้าหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานปล่อยขบวนรถขยะอันตราย ตามโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายจังหวัดเชียงใหม่โดยมี นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน โดยมี อปท.ฯและหน่วยงานหลายภาคส่วนเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้
นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงให กล่าวรายงานว่า โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการบริหารจัดการของเสียประเภทวงจรตั้งแต่การลดปริมาณของเสียที่แหล่งกำเนิด ตลอดจนการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และการกำจัดขั้นตอนสุดท้ายตามหลักการดำเนินงานด้าน 3rs คือการลดการใช้, การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนรวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรวมกลุ่มกันในการเก็บรวบรวมและขนส่งของเสียอันตรายแบบศูนย์รวมเพื่อบริหารจัดการของเสียอันตรายแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเน้นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน การเสริมสร้างสมรรถภาพด้านการจัดการของเสียอันตราย จากชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดมาตรการในการจัดการ 3 มาตรการได้แก่ มาตรการลดการเกิดของเสียเวลาที่แหล่งกำเนิด, มาตราการเพิ่มศักยภาพการจัดการของเสียอันตรายและมาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการของเสียอันตรายโดยสอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงให กล่าวรายงานว่า โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะเรื่องแนวทางการบริหารจัดการของเสียประเภทวงจรตั้งแต่การลดปริมาณของเสียที่แหล่งกำเนิด ตลอดจนการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และการกำจัดขั้นตอนสุดท้ายตามหลักการดำเนินงานด้าน 3rs คือการลดการใช้, การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนรวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรวมกลุ่มกันในการเก็บรวบรวมและขนส่งของเสียอันตรายแบบศูนย์รวมเพื่อบริหารจัดการของเสียอันตรายแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเน้นการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน การเสริมสร้างสมรรถภาพด้านการจัดการของเสียอันตราย จากชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดมาตรการในการจัดการ 3 มาตรการได้แก่ มาตรการลดการเกิดของเสียเวลาที่แหล่งกำเนิด, มาตราการเพิ่มศักยภาพการจัดการของเสียอันตรายและมาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการของเสียอันตรายโดยสอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ทางด้านนายบุญเลิศฯ เผยว่าแนวทางการบริหารจัดการของเสียอันตรายในภาคเหนือของประเทศและการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนโดยมีเป้าหมายการดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ตามแผนแม่บทบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) ประกอบด้วยของเสียอันตรายชุมชนได้รับการรวบรวมและส่งจตุจักรถูกต้องตาม หลักวิชาการไม่น้อยร้อยละ 30 ของปริมาณของเสียอันตรายชุมชนที่เกิดภายในปี 2564 ตัวย่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชนที่ต้นทางน้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศภายในปี 2564 อีกครั้งได้ดำเนินการมาตรการการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายโดยมาตรการเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายดูองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด ดำเนินการเก็บรวบรวมขนส่งและกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ได้แจ้งแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ประจำปีพ.ศ. 2562 เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนมีการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ
โดยในปีงบประมาณ 2562 จังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 340,680.76 ตัน/ต่อปี ไม่มีขยะอันตรายเกิดขึ้น 1,313.14 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ข้อมูลจากระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น) เนื่องด้วยจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีสถานที่กำจัดของเสียอันตรายซึ่งของเสียอันตรายหรือขยะอันตรายคือเป็นมูลฝอยประเภทที่มีข้อควรคำนึงหลายประการได้แก่ระยะเวลาการเก็บขยะอันตรายไว้ในสถานที่รวบรวมขยะอันตรายถ้าจัดการไม่เหมาะสมจะส่งผลโดยตรงต่อการปล่อยสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยและสภาพสิ่งแวดล้อมทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จึงมีนโยบายรวบรวมของอันตรายจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อส่งกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
ดังนั้นเพื่อให้ของเสียอันตรายของจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการรวบรวมและส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการฝ่ายสาธารณภัยและสิ่งแวดล้อมในส่วนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำนักการช่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้เข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการคัดแยกขยะอันตรายในจังหวัดเชียงใหม่และเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนทุกคนและตลาดและเข้ามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะอันตรายในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป
นายบุญเลิศ กล่าวเสริมอีกว่า อบจ.เชียงใหม่ ถือเป็นหน่วยงานแรกในจ.เชียงใหม่ ที่จะชักชวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งสองร้อยกว่าแห่ง และประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญถึงการคัดแยกขยะอันตราย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่มือถือ คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ กระป๋องสีเก่า ฯลฯ ถ้าเราไม่กำจัดและคัดแยกขยะอันตรายไปทำลายแล้วนั้นและเราไม่เริ่มนับ 1 ในการดำเนินการจัดการกับขยะอันตราย ต่อไปสิ่งแวดล้อมของ จ.เชียงใหม่ จะเสียไปด้วย ซึ่งหากหน่วยงานหรืององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ทื่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ และต้องการความช่วยเหลือใดๆ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นแม่งานในการดำเนินการไปเก็บรวบรวม ขยะอันตรายจากตามจุดที่ทิ้งหรือจุดรวบรวมขยะอันตรายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงาน ชุมชนต่างๆเพื่อรวบรวมส่งไปกำจัดในทุก 3 เดือน องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการคัดแยกขยะอันตรายไม่ว่าอบต.,อปท.หรือว่าหน่วยงานใดๆ โรงเรียน ชุมชนหรือรพ.สต. ไม่มีจุดตู้ทิ้งขยะอันตรายก็สามารถทำการประสานมายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จะได้นำตู้คัดแยกขยะอันตรายไปติดตั้งให้พร้อมทั้งบริหารจัดการในการจัดเก็บขยะอันตรายมารวบรวมเพื่อส่งไปทำลายในทุกๆ 3 เดือน โดยจะได้รวบรวมเพื่อส่งขยะอันตรายไปทำลายที่โรงงานที่ จ.สระบุรี ซึ่วเป็นโรงงานที่มีมาตรฐานในการกำจัดขยะอันตรายมาตรฐานในระดับโลกในประเทศไทย ซึ่งในการปล่อยขบวนรถขยะอันตรายในครั้งนี้จำนวน 4 คันรถ ปริมาณขยะอันตรายเกือบ 50 ตัน โดยทางเราได้มีมาตรการป้องกัน พร้อมติดตั้งระบบ GPS ในรถบรรทุกทุกคันเพื่อเป็นการติดตามว่าขบวนรถดังกล่าวได้เดินทางไปถึงจุดโรงงานทำลายขยะอันตราย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการนำขยะ ไปทิ้งในจังหวัดอื่นก่อนถึงปลายทาง ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีการตรวจจับและควบคุมการขนส่งอย่างเข้มข้นขอให้พี่น้องประชาชนสบายใจได้และขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วน ได้ร่วมมือกันดำเนินการคัดแยกขยะอันตราย และประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันคัดแยกขยะอันตรายและนำมาทิ้งในจุดรับทิ้งขยะอันตรายเพื่อทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จะได้รวบรวมส่งไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป.
https://youtu.be/Sn2Fc2obsp8
ทรงวุฒิ ทับทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น