วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจับมือกับบริษัทเอกชนลงนามเซ็นเอ็มโอยูด้านเทคโนโลยีการบิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจับมือกับบริษัทเอกชนลงนามเซ็นเอ็มโอยูด้านเทคโนโลยีการบิน
เมื่อเวลา 10:00 น.วันที่ 6 พ.ย. 2562 รองศาสดาจารย์ ดร. ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ดร.ธนกฤต อัศวลงกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด ร่วมพิธีลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการโครงการสถาบันการบินและเทคโนโลยีวัตกรรม ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กับ บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด โดยมี คณาจารย์ ผู้บริหาร นักศึกษา เข้าร่วม ที่ อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยารองศาสดาจารย์ ดร. ชูสิทธิ์ ประดับเพ็ชร์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ความร่วมมือกับไทยแอร์โรสเปซนั้นถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยามุ่งมั่นในการแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนาทั้งองค์ความรู้และประสิทธิภาพรวมถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยฯ ที่จะสามารถตอบสนองทั้งนักศึกษาและภาคอุตสาหกรรมรวมถึงร่วมพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ อุตสาหกรรมการบินถือเป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่ประเทศกำลังเดินหน้าไป เราไม่ได้มองที่ปัญหาเดิมแต่กำลังมองไปข้างหน้าว่าหาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จะเข้าสู่การผลิตบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมการบินนั้นจะต้องเตรียมตัวและเดินหน้าไปด้วยวิธีการใด และการมองหาพันธมิตรที่เป็นภาคเอกชนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินก็เป็นแนวทางที่มหาวิทยาลัยมองแล้วว่าเหมาะสมทั้งในแง่ของการสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้และนำเอาคำแนะนำที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาบุคคลากรและหลักสูตร อีกทั้งปัจจุบันการพัฒนา คน ให้ตรงตามความต้องการป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมให้พร้อมต่อการทำงานได้จริงก็เป็นแนวทางที่สำคัญของภาคการศึกษาที่ต้องให้ความสำคัญ และการนำเอามาตรฐานสากลเข้ามาบรรจุในหลักสูตรยิ่งเป็นหลักสำคัญที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จะสามารถนำมาเป็นจุดต่างสำหรับการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาอีกต่อไป ในส่วนรายละเอียดของความร่วมมือในการถ่ายทอดและร่วมสร้างบุคลากรป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินระหว่างไทยแอรโรสเปซ อินดัสทรียส์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นั้นจะเริ่มที่หลักสูตรของช่างซ่อมอากาศยานและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นในระยะแรกและหลังจากนั้นจะเริ่มประกาศหลักสูตรอื่นๆ เพิ่มเติมในภายหลังซึ่งรวมถึงหลักสูตรต่อเนื่องในสาขาที่ได้เริ่มผลิตบุคลากรไปก่อนหน้าด้าน ดร.ธนกฤต อัศวลงกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือกับทาง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้นั้น ไทยแอร์โรสเปซ เป็นหนึ่งในธุรกิจด้านดูแลและจัดการในภาคอุตสาหกรรมการบินมานาน นอกจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้ในภูมิภาคที่กำลังเดินหน้าไปอย่างต่อเนื่องแล้ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำลังเป็น คำถาม อยู่คือการสร้างบุคลากรป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานสากล วันนี้ประเทศไทยกำลังเดินมาถึงจุดที่ถูกตั้งคำถาม ซึ่งปัจจุบันมีภาคการศึกษาหลายแห่งที่มีการเปิดสอนหลักสูตรการบินเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีสภาบันการศึกษาใดเลยที่มองเห็นและได้นำเอากรอบหรือข้อกำหนดมาตรฐานสากลไปกำหนดไว้ในหลักสูตร เราในฐานะของผู้ประกอบการที่โดยทางตรงแล้ว ก็คือภาคธุรกิจที่ต้องสรรหาบุคลากรเข้าสู่การทำงานหากแต่ในประเทศไทยนั้นแรงงานที่จบออกมาไม่ได้ตามมาตรฐานสากลและไม่มีใบรับรองความรู้ระดับสากล ทำให้วันนี้ภาคอุตสาหกรรมการดูแลอากาศยานในประเทศไทยนั้นยังคงจำกัดอยู่กับงานพื้นๆ มีเพียงบริษัทไม่กี่แห่งที่จะรับงานซ่อมและดูแลอากาศยานที่มีความซับซ้อนได้มาก เราจึงกลับมามองว่าเพราะอะไรและปัญหาอยู่ที่จุดใดพบว่าภาพรวมในประเทศของเราวันนี้คือเรื่องของมาตรฐานสากลที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ทั้งในแง่ขององค์ความรู้และเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ตอบโจทย์ในมาตรฐานสากลในปัจจุบันก่อนหน้านี้ บริษัท ไทยแอร์โรสเปซ อินดัสทรียส์ จำกัด ได้ทำการเปิดตัวศูนย์ฝึกอบรมและสอบวัดความรู้มาตรฐานช่างซ่อมอากาศยาน บนมาตรฐาน EASA Part147 ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์ฝึกอบรมแห่งแรกที่เปิดดำเนินการในประเทศไทย โดยเป็นความร่วมมือทำการฝึกอบรมกับ Dviation Solutions จากสหภาพยุโรป โดยที่ผู้ที่ผ่านการอบรมและสามารถสอบผ่านตามหลักสูตรนั้น จะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองความรู้ ที่สามารถนำไปสมัครงานกับธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานที่ใดก็ได้ในโลก
ภาพข่าว//สุนทร สอนแสนสุข//ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น