วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ซีพี ผนึกเครือข่าย กลุ่มเกษตรยั่งยืนแม่วากโมเดล มอบกล้าพืชสวน 74,048 กล้า ให้ชาวอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ สร้างอาชีพใหม่ ทางรอดหลังวิกฤต โควิด-19

ซีพี ผนึกเครือข่าย กลุ่มเกษตรยั่งยืนแม่วากโมเดล มอบกล้าพืชสวน 74,048 กล้า ให้ชาวอำเภอแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ สร้างอาชีพใหม่ ทางรอดหลังวิกฤต โควิด-19





วันที่ 19 สค.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อโลกตกอยู่ในสถานการณ์ที่ ไม่สามารถควบคุมได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้น หลายคนทั่วโลกไม่ทันตั้งรับ หลายธุรกิจต่างปิดกิจการลงไปภายในระยะเวลาอันสั้น เหตุจากภัยไวรัสโควิด-19 ที่เข้ามาทำราย วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและหากเรามองให้ครบในทุก มิติ จะเห็นถึง บริบทของสังคมที่ยังต้องการรับความช่วยเหลือ เมื่อมีคนล้ม อีกคนต้องช่วยกันพยุงกันขึ้น ที่มาสู่การเป็นของศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้ ในพื้นที่ บ้านแม่วาก ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อการจ้างงานและฟื้นฟูป่า คืนการกลับมาของอาชีพ แก่ชาวบ้านและเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 จากสถานการณ์โควิด -19 ที่ผ่านมาส่งผลให้ชาวบ้านต่างได้ระผลกระทบจากการเลิกจ้างาน เป็นจำนวนมาก ตลอดในระยะเวลา 3 เดือน ที่บ้านแม่วาก ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซีพีได้มอบศูนย์เพาะชำกล้าไม้ให้เพื่อช่วยเหลือยืนหยัดเคียงข้างคนไทยสู้ภัยโควิด-19 จ้างคนตกงานเข้าทำงานที่ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว







นายบุญลือ ธรรมธนานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม กล่าวว่า ขอบคุณเครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชนภายในพื้นที่ พร้อมทั้งยังเป็นเสมือนตัวช่วยในการขับเคลื่อนผลักดันให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง พร้อมเรียนรู้สู่ความยังยืนต่อไปในอนาคต พร้อมรับมือกับสถานการณ์ในวันข้างหน้าซึ่งในวันนี้ได้เกิดการจ้างงานของกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่อย่างแท้จริง โดยการนำต้นกล้าผักจากโรงเรือนเพาะปลูกมากระจายและส่งมอบให้กับ ชุมชนและผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสร้างการกลับมาของอาชีพและประกอบการใช้โยชน์ของเกษตรกรต่อไป



คุณนนท์ นาคะเสถียร ผู้จัดการทั่วไป หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ทางเครือมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนชุมชน สังคม ให้เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพและรายได้ สามารถเลี้ยงดูตนและครอบครัวอย่างมีความสุข หากการช่วยเหลือเยียวยา คือการกลับมาซึ่งความสุขของเกษตรกร เราพร้อมที่จะยืนหยัดเคียงข้าง ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ให้เกิดการพัฒนามุ่งสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ทางเครือฯ คาดหวังเพียงอยากให้ ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเอง มีความเข้มแข็ง เกิดแรงขับเคลื่อนจากภายในมีความเข้าใจร่วมกัน โดยศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการขยายพันธ์พืช ฟื้นฟูป่า เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนโดยภายศูนย์เพาะชำกล้าไม้ฯนี้ประกอบไปด้วยโรงเรือนเพาะชำกล้าพันธุ์ไม้จำนวน 4 โรงเรือน ซึ่งสามารถเพาะชำกล้าไม้ ทั้ง ระยะสั้นและระยะยาวได้ถึง 102,500 กล้า/รอบ นอกจากนี้สถานที่แห่งนี้ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่อรรถประโยชน์กับชุมชน ที่ได้มาจากการเพาะกล้าพืชผักระยะสั้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน และเพื่อการฟื้นฟูป่าเพิ่มการกลับมาของพื้นที่สีเขียว สร้างเศรษฐกิจและ สังคม ชุมชน อันนำมาซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่



ซึ่งกล้าผักเหล่านี้ได้ถูกส่งมอบให้กับศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม บ้านแม่วาก ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดย คุณ บุญลือ ธรรมธนานุรักษ์ นายอำเภอแม่แจ่ม เป็นประธานในการจัดกิจกรรม พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย ได้แก่ ผู้แทนสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(สวพส.)/ผู้แทนมูลนิธิฮักเมืองแจ๋ม/ผู้แทนอบต.แม่นาจร/ผู้แทน อบต.บ้านทับ/ผู้แทนอบต.กองแขก/ผู้แทนอบต.ช่างเคิ่ง/ผู้แทนอบต.ปางหินฝน/ผู้แทนอบต.แม่ศึก/กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านแม่วากโดยภายในการมอบครั้งนี้มีจัดกิจกรรมส่งมอบกล้าผัก (พืชระยะสั้น) จากเรือนเพาะชำเพื่อการจ้างงานและฟื้นฟูป่าอำเภอแม่แจ่ม จำนวน 74,048 กล้า ประกอบไปด้วย กล้าฝักทอง ,กล้ากะหล่ำปลี ,ผักกาด คะน้า ,ฯลฯให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และในอนาคตมีแผนการส่งมอบให้กับชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป.



ฟงหวิน ศักดิ์อัศวิน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น