วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"ทต.ชมภู" ขอร่วมพลิกฟื้นภูมิปัญญาหล่อเลี้ยงคนลุ่มน้ำฝาย"พญาคำ"บูรณาการ"รุ่นสู่รุ่น"

"ทต.ชมภู"ขอร่วมพลิกฟื้นภูมิปัญญาหล่อเลี้ยงคนลุ่มน้ำฝาย"พญาคำ"บูรณาการ"รุ่นสู่รุ่น"





ด้วยความสอดคล้องของโครงการ"บริหารจัดการฝายพญาคำ"ที่มีความเก่าแก่เป็นฝายไม้อายุกว่า100ปี คาดสร้างขึ้นมาในสมัย
พญาผาบ ฝายพญาคำเป็นฝายที่รับน้ำจากแม่น้ำปิงที่หล่อเลี้ยงผู้คนในพื้นที่ของอำเภอสารภีผ่านในหลายตำบลหมู่บ้าน จนถึงตำบลอุโมงค์ของจังหวัดลำพูน จากรู่นสู่รุ่นสายน้ำจากลำเหมืองพญาคำหรือฝายพญาคำนั้น คงความสำคัญยิ่ง เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมาแต่ครั้งอดีตสู่ยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภูมิปัญญาต่างๆถูกปัดฝุ่นขึ้นมาใช้ควบคู่กันไปกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบันแบบผสมผสานของภูมิปัญญาไทย จากรุ่นสู่รุ่น





นายธวัช ชัยแก้ว นายกเทศมนตรีตำบลชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ผู้บริหารท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของการบูรณาการสายน้ำให้คงอยู่เคียงคู่กับชาวสารภี โดยจัดการบริหารจัดการด้วยระบบเครือข่ายมุ่งเน้นการสร้างความเข้าอกเข้าใจระหว่างกัน
ระหว่างผู้ใช้น้ำให้ได้รับน้ำกันอย่างเสมอภาคทั้งภาคเกษตร ครัวเรือนและอุตสาหกรรมฯลฯ
ฝายพญาคำเริ่มที่สายน้ำปิงต้นน้ำอยู่ในฝั่งของเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ฝายพญาคำเป็นฝายน้ำส่วนแยกด้านทิศตะวันออกของ
สายน้ำปิงจุดเริ่มต้นฝายอยู่ที่ค่ายกาวิละเป็นที่ราบลุ่มเรื่อยมา ที่มีกรมชลประทานเป็นใช้ระบบการเปิด-ปิดด้วยรีโมทคอนโทรลเปิดใช้ 5 วัน ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ในทุกๆรอบการเปิด-ปิดที่ผ่านมา ซึ่งต่อไปจะมีการเปิดบานประตูน้ำในแต่ละจุดที่มีความชัดเจนและลงตัวในแต่ละรอบอาทิตย์ของการจ่ายน้ำกันแบบเสมอภาค ภายหลังที่มีการระดมแนวคิดใหม่ๆและทุกภาคส่วนที่ร่วมกันใช้น้ำคือตั้งแต่ผู้ใช้น้ำจากตำบลหนองผึ้ง ตำบลยางเนิ้ง ตำบล
หนองแฝก ตำบลไชยสถาน ตำบลสารภี ตำบลไปสิ้นสุดในเขตพื้นที่ของตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน



ส่วนของตำบลชมภูนั้น ถือว่าเป็นพื้นที่ท้ายสุดด้านทิศตะวันออกของสายน้ำที่มักประสบกับปัญหาน้ำมาไม่ถึงและน้ำไม่พอใช้
ในด้านเกษตรกรรมทั้งทำสวนทำนายามหน้าแล้งยิ่งประสบปัญหาอย่างหนัก นายธวัช ชัยแก้ว นายกเทศมนตรีตำยบลชมภู ในฐานะ
เลขานุการเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำทั้งหมดดังกล่าวจากหลายตำบล กล่าวว่า ขณะนี้ทุกตำบลทุกพื้นที่จะมีแนวร่วมเครือข่ายมีการหารือและมีข้อตกลงร่วมกันว่า จะร่วมกันดูแลสายน้ำของแต่ละท้องถิ่นอย่างสม่ำเสมอไม่ให้เกิดปัญหาใดๆ โดยเฉพาะการรุกล้ำลำเหมือง ที่ขณะนี้เขตแนวลำเหมืองถูกบุกรุกจนบางแห่งคับแคบและจะแบ่งปันน้ำเป็นขั้นเป็นตอนว่า วันไหน?ที่ไหน?อย่างไร?ทุกอย่างอยู่ในข้อตกลงร่วมกัน





การขจัดสิ่งกีดขวางลำน้ำเศษวัชพืชต่างๆ ที่ขวางทางน้ำจะต้องดูแลกันอย่างเอาจริงเอาจังให้กำจัดออกไป เพื่อให้สายน้ำจาก
เหมืองฝายพญาคำไหลผ่านมาสะดวกและรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำของแต่ละตำบล และที่สำคัญนอกจากการบูรณาการระหว่างผู้บริหารฯ ผู้ใช้น้ำในระบบเครือข่ายทีชัดเจนผนวกเข้าด้วยกันแล้ว การดึงเอา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการพลิกฟื้นนำกลับมาใช้และให้ความรู้สร้างความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของลำเหมืองพญาคำ ให้กับคนรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันไม่รู้เลยว่า ฝายพญาคำนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนที่อยู่ลุ่มน้ำแต่ครั้งบรรพบุรุษมาสู่รุ่นลูกหลาน





เพราะฉนั้นการพลิกกลับมาเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ คณะกรรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาอันมีนักการศึกษาของอำเภอ
สารภีร่วมกับคณะกรรมการเหมืองฝาย ได้ร่วมกันนำหลักสูตรและจัดเป็นหลักสูตรสำหรับการเรียนการสอนเข้าสู่ในทุกโรงเรียนที่อยู่ในอำเภอสารภีเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้และเห็นถึงความสำคัญของการใช้น้ำจากเหมืองพญาคำ โครงการบูรณาการ่รวมกันของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับฝายพญาคำ โดยกรมชลประทานได้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังจะนำไปสู่การมีน้ำใช้อย่างบริบูรณ์พูนผล ชาวตำบลชมภูผู้ใช้น้ำที่อยู่ไกลและท้ายสุดของสายน้ำเกิดความพอใจ ที่จะไม่ขาดน้ำในช่วงที่น้ำไหลน้อยและแย่งกันใช้ การบรรลุข้อตกลงระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายผู้ใช้น้ำลุ่มฝายพญาคำ จึงเป็นอีกบริบทหนึ่งแห่งการเริ่มทำงานเชิงบูรณาการให้สอดรับสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ให้แต่ละภูมิภาคและแต่ละจังหวัดตลอดจนถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโครงการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีนั้น คนลุ่มน้ำฝายพญาคำทุกคนต้องร่วมกันดูแลและรักษาสภาพแวดล้อมและอย่าให้ใครหรือผู้ใดมา
บุกรุกยึดคลองที่ริมน้ำ เพราะความสวยงามมันจะเหือดหายไปจากลำเหมืองพญาคำ หากทุกคนโดยเฉพาะคนสารภีไม่ร่วมกันเสียสละและบอกกล่าวเล่าขานไว้สู่รุ่นลูกหลาน"จากรุ่นสู่รุ่น" ที่เหมืองฝายพญาคำ.

ทรงวุฒิ ทับทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น