สตูล ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ตรวจเยี่ยมหน่วยในพื้นที่จังหวัดสตูล
พลเรือโท เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3พร้อมด้วย พลเรือตรี สุรัชฎ์ ศิริวรรณนาวี รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3,พลเรือตรี สุชาติ เปรมประเสริฐ ผู้อำนวยการ สำนักฝ่ายอำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3
และนายทหารฝ่ายอำนวยการ ศรชล.ภาค 3 เดินทางมาตรวจเยี่ยมหน่วยงานใน ศรชล.ภาค 3 พื้นที่จังหวัดสตูล ประกอบด้วย ศรชล.จังหวัดสตูล ศคท.จังหวัดสตูล และ ศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้า - ออก (PIPO) เพื่อรับทราบผลการปฏิบัติงานในปี 2563 ที่ผ่านมาของหน่วย พร้อมทั้งให้กำลังใจกำลังพล และมอบนโยบายการปฏิบัติงานในปี 2564 ในการนี้ ผอ.ศรชล.ภาค 3 ได้มอบหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID - 19 ให้กับเจ้าหน้าที่ ศรชล.จังหวัดสตูล ศคท.จังหวัดสตูล
นอกจากนี้ยังไปตรวจเรือส่งสินค้าข้ามประเทศ คือ แมงดาทะเลจำนวนมาก โดยเป็นเรือจากประเทศอินโดนีเซีย และมีลูกเรือ 3 คนเป็นชาวอินโดนีเซีย เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ที่มีเอกสารเดินทางถูกต้อง และดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ร่วมกันบูรณาการทำงานหลายฝ่าย
พลเรือโท เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 กล่าวว่า ศรชล.ภาค 3 ได้มอบนโยบายให้ ศรชล.จังหวัดในการดำเนินการบูรณาการกำลัง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานใน ศรชล.จังหวัด ให้กำหนดความสำคัญสำหรับภัยคุกคามด้านต่างๆของแต่ละจังหวัด และพิจารณาใช้กำลังตามขอบเขตที่มี ซึ่งที่ผ่านมา ศรชล.จังหวัดสตูลก็ได้มีการบูรณาการกำลังหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานเจ้าท่าจังหวัดสตูล ประมงจังหวัดสตูล ตำรวจน้ำสตูล ศุลกากรสตูล ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลจังหวัดสตูล โดยมีการจัดกำลังทางเรือ ลาดตระเวนพื้นที่ตามแนวชายฝั่งระหว่างน่านน้ำไทย – มาเลเซีย โดยรูปแบบการปฏิบัติจะใช้เรดาร์ตรวจการณ์จากสถานีเรดาร์ ก.ปูยู ของ นป.สอ.รฝ.452 ตรวจการณ์เป้าที่ต้องสงสัย และแจ้งมายังกำลังทางเรือที่ทำการลาดตระเวนหรือเรือที่พร้อมรับสถานการณ์ เข้าตรวจสอบ ซึ่งผลการปฏิบัติที่ผ่านมาก็ได้รับรายงานการปฏิบัติของ ศรชล.จังหวัดสตูล อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในสภาวะที่ทาง ศรชล.จังหวัดสตูล พิจารณาแล้วเห็นว่ากำลังหน่วยต่างๆ ที่บูรณาการร่วมกันปฏิบัตินั้นไม่เพียงพอต่อภารกิจ ก็ให้ร้องขอมายัง ศรชล.ภาค 3 ซึ่งที่ผ่านมาทาง ศรชล.จังหวัดสตูล ก็ได้มีการขอรับการสนับสนุนกำลังจาก ศรชล.ภาค 3 เช่นกำลังทางเรือ กำลังอากาศนาวี และการตรวจการณ์ของอากาศยานไร้คนขับ UAV โดยเฉพาะห้วงเวลานี้ ศรชล.ภาค 3 ก็ได้ส่งเรือ ต.995 มาสนับสนุนกำลัง ศรชล.จังหวัดสตูลอยู่เป็นประจำ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เรือ ต.995 ก็ ลว. ตั้งจุดสกัดเป็นด่านหน้าบริเวณ ก.ยาว ซึ่งเป็นเขตรอยต่อน่านน้ำไทย – มาเลเซีย พร้อมตรวจเรือทุกลำที่มีทิศทางมาจากมาเลเซีย โดยบูรณาการปฏิบัติร่วมกับ ศรชล.จังหวัดสตูลอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินการของ ศรชล.จังหวัดสตูล ศรชล.ภาค 3 มีการดำเนินการอยู่ 3 ส่วนหลักๆด้วยกัน ลำดับแรกคือการเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการลักลอบการเข้ามาทางทะเลโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งที่ผ่านมา ศรชล.จังหวัดสตูลได้บูรณาการกำลังในการเฝ้าระวังป้องกัน โดยจัดกำลังทางเรือจากหน่วยงานภายใน ศรชล.จังหวัด ออก ลาดตระเวนตามห้วงเวลาหรือตามที่ได้รับข้อมูลด้านการข่าว
โดยมุ่งเน้นเรือที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยและมีทิศทางมาจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ศรชล.ภาค 3 ก็พิจารณาสนับสนุนกำลังเพิ่มเติมให้กับ ศรชล.จังหวัดสตูลเพื่อร่วมบูรณาการ ประกอบด้วยกำลังทางเรือที่จัดมาตามห้วงเวลา กำลังจาก นป.สอ.รฝ.452โดยเฉพาะเรื่องการตรวจการณ์ กำลังจาก นรภ.ทร.เกาะหลีเป๊ะ ให้มาร่วมปฏิบัติกับ ศรชล.จังหวัดสตูล และการนำคนไทยกลับจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งในช่วงการระบาดระลอกแรก ศรชล.จังหวัดสตูล ได้ดำเนินการตามที่ ศบค.จังหวัดสตูลมอบหมายให้บูรณาการกำลังเพื่อนำคนไทยกลับจาก มาเลเซียโดยเฉพาะพื้นที่จากเกาะลังกาวี โดยมีหน่วยงานหลักที่ดำเนินการคือ เจ้าท่าสตูล ตำรวจน้ำสตูล และอีกหลายหน่วยงาน อาทิ ตม.จังหวัดสตูล อบจ.สตูล ร่วมกันนำคนไทยกลับเข้าสู่ประเทศไทยด้วยความปลอดภัย เป็นไปตามกรอบนโยบายที่รัฐบาลกำหนดและมาตรการคัดกรอง ศรชล.จังหวัดสตูล ได้ดำเนินการคัดกรองในพื้นที่ท่าเรือที่สำคัญ คือท่าเรือตำมะลัง และท่าเรือปากบารา โดยท่าเรือตำมะลังได้มีการดำเนินการของศูนย์บริหารจัดการด่านประมงเขต 9 ร่วมกับ จนท.ศรชล. จนท.สาธารณสุข ศุลกากร ร่วมกันตรวจเรือขนถ่ายสัตวน้ำที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งนับจนถึงวันนี้ดำเนินการมาแล้ว 10 เดือนไม่เว้นวันหยุด สำหรับท่าเรือปากบาราซึ่งเป็นท่าเรือที่จะไปยังสถานที่ท่องเที่ยว ศรชล.จังหวัดสตูล ก็ได้จัด จนท. จาก นรภ.ทร.เกาะหลีเป๊ะ ร่วมกับ เจ้าท่า จนท.สาธารณสุข อบจ.สตูล ตำรวจน้ำ ร่วมกันตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวทุกคนที่ต้องลงเรือไปยังเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งก็ได้ดำเนินการมาแล้ว 10 เดือนเช่นกัน นอกจากนี้ตามสถานที่ท่าเรือประมง ศคท.สตูล ก็ได้บูรณาการร่วมกับ ศูนย์ pipo ในการตรวจคัดกรองลูกเรือประมงทุกลำ ตามมาตราการเฝ้าระวังที่กำหนด จนถึงปัจจุบันในพื้นที่สตูล เชื่อได้ว่าการปฏิบัติในการเฝ้าระวังยังคงเข้มข้นตามมาตราการสูงสุด นอกจากการกำกับดูแลในภาพรวม ศรชล.ภาค 3 ก็ยังคงมีการประชุมเพื่อมอบนโยบายและกรอบแนวทางให้กับ ศรชล.จังหวัดสตูล ไปดำเนินการ หากมีปัญหาอุปสรรคข้อข้ดข้องประการใด ศรชล.ภาค 3 ก็จะเข้ามากำกับดูแลและให้ความช่วยเหลือต่อไป
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564
สตูล ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ตรวจเยี่ยมหน่วยในพื้นที่จังหวัดสตูล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น