วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

ราชบุรียกระดับพื้นที่เฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

จ.ราชบุรี/ราชบุรียกระดับพื้นที่เฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานประชุมยกระดับพื้นที่เฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)





ซึ่งระบาดในหลายประเทศ อาทิกัมพูชา ลาว และล่าสุดที่เมียนมา จ.ราชบุรีจึงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดเพราะเป็นพื้นที่เลี้ยงสุกรหนาแน่นและมีปริมาณกำลังการผลิตมากกว่า 2,000,000 ตัวต่อปี ทั้งนี้จึงออกมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของจังหวัดราชบุรี คือให้ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรเข้มงวดและปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และให้ผู้ประกอบการฟาร์มสุกร ชะลอการนำสุกรนอกพื้นที่จังหวัดราชบุรี เข้าสู่ฟาร์ม
ส่วนกรณีต้องการนำสุกรมีชีวิตจากนอกพื้นที่จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ลูกสุกร และพ่อแม่พันธุ์ทดแทน เข้าสู่ฟาร์ม ต้องมีผลการตรวจโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ของฟาร์มสุกรต้นทางเป็นลบก่อนไม่เกิน 7 วัน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าพื้นที่จังหวัดราชบุรี และให้มีสถานที่สำหรับกักกันสัตว์ สำหรับดูอาการก่อนที่จะนำสุกรมีชีวิตเข้าสู่ฟาร์มโดยสถานที่ดังกล่าวต้อง



มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่เหมาะสม และในระหว่างที่มีการกักกันสัตว์ให้เก็บตัวอย่างเลือดสุกร ร้อยละ 5 เพื่อตรวจหาเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน โดยครั้งแรกทำเมื่อวันแรกที่สุกรมีชีวิตข้าสู่สถานกักกันสัตว์ เมื่อผลตรวจเป็นลบทั้งสองครั้งแล้วจึงสามารถเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าสู่ฟาร์มได้
ขณะที่ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสุกรอย่างเคร่งครัด กรณีพบสุกรป่วยตายผิดปกติ ตามนิยามโรคระบาด ได้แก่ PRRS โรคปากเท้าเปื่อย,โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตรกรมปศุสัตว์ หรือสัตวแพทย์ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ทราบว่าสัตว์ป่วยหรือตาย





สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น