วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ศรีสะเกษ !! อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 เปิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา ประจำศาลจังหวัดกันทรลักษ์

ศรีสะเกษ !! อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 เปิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา ประจำศาลจังหวัดกันทรลักษ์



เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศาลจังหวัดกันทรลักษ์ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายวีรภัทร ไพบูลย์วัฒนกิจ อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 และคณะ ได้เดินทางมาตรวจราชการศาลจังหวัดกันทรลักษ์ และได้เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา โดยมี น.ส.อภิณห์พร เพชรวรวิวัฒน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกันทรลักษ์ พร้อมด้วยคณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดกันทรลักษ์ อัยการจังหวัดกันทรลักษ์ อัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดศรีสะเกษ ผบ.เรือนจำอำเภอกันทรลักษ์ ผกก.สภ.กันทรลักษ์ ผอ.สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดศรีสะเกษ สาขากันทรลักษ์ ผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดกันทรลักษ์ และรองประธานสภาทนายความจังหวัดกันทรลักษ์ ให้การต้อนรับและร่วมพิธี
นายวีรภัทร กล่าวว่า การเปิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของ นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา ที่จะสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิยกระดับการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้เสียหายเหยื่ออาชญากรรม และพยานในคดีอาญา เพื่อเปิดโอกาสผู้เสียหายได้รับรู้ถึงสิทธิและแสดงความประสงค์ในการใช้สิทธิของตนต่อศาลได้ ตั้งแต่ก่อนมีการฝากขังผู้ต้องหา





ตลอดจนการให้คำแนะนำ ปรึกษาปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เสียหาย โดยจะมีผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด แจ้งข้อมูล และอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของการดำเนินกระบวนพิจารณา
ด้าน น.ส.อภิณห์พร เพชรวรวิวัฒน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดกันทรลักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญามีผู้เสียหายที่อยู่ระหว่างการประสานข้อมูล เป็นผู้เสียหายระหว่างการสอบสวนซึ่งพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอผัดฟ้อง ฝากขัง จำนวน 6 ราย และมีผู้เสียหายในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 35 ราย นอกจากนี้ศาลจังหวัดกันทรลักษ์ ยังได้นำมาตรการไกลเกลี่ยก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 ที่ผ่านมา มาใช้กับผู้เสียหายในคดีอาญา ตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติต่อผู้เสียหายในคดีอาญา พ.ศ. 2563 ให้กระบวนการทางศาลในทุกขั้นตอนมีการปฏิบัติต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่ออาชญากรมอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทยและมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ และศาลพึงช่วยเหลือแนะนำผู้เสียหายในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เป็นธรรม รวดเร็วและเป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่ายต่อไป



************
ข่าว/ภาพ...... บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น