วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สุราษฎร์ธานี // เกราะไม้ หรือ “เหลาะ” ในภาษาใต้ เครื่องมือสื่อสารของกำนัน - ผู้ใหญ่บ้านในยุคก่อน มีให้ดูที่วัดพระธาตุไชยาฯ .

ไทเกอร์นิวส์ สุราษฎร์ธานี
ศูนย์ข่าวภาคใต้ตอนบน



เกราะไม้ หรือ “เหลาะ” ในภาษาถิ่นใต้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณให้รับรู้ร่วมกันในยามเหตุฉุกเฉิน วิกฤติหรือธุระจำเป็นเร่งด่วน เกราะไม้ หรือ “เหลาะ” คืออุปกรณ์การสื่อสารที่ทันสมัยที่สุดในสมัยโบราณ คำว่า “ตีเกราะ เคาะไม้” นี้มีที่มาจากการตีเกราะซึ่งทำด้วยไม้เพื่อเรียกประชุม หรือแจ้งเหตุร้ายต่างๆ เป็นเครื่องส่งสัญญาณที่นิยมในสมัยก่อนเพื่อบอกความเคลื่อนไหวให้เป็นที่สังเกต นัดแนะ หรือบอกเหตุร้าย สำหรับตีให้สัญญาณ





เกราะ หรือ เหลาะ สำหรับตีให้สัญญาณในภาคใต้ ที่นิยมคือเกราะไม้เดี่ยว เป็นเกราะไม้ทั้งต้น นิยมไม้ขนุน เสียงจะดังกังวาล เลือกขนาด และรูปทรงสูง เส้นรอบวงประมาณ 1 โอบ ด้านข้างผ่ากว้างราว 2 นิ้วขุดให้กลวง หัวท้ายตัน ตีด้วยไม้กลมเหมาะมือ เกราะไม้ใช้ตีนัดแนะในการประชุมเช่น ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมลูกบ้าน โดยจะตีจังหวะช้า และหนักแล้วค่อยเร่งเร็วตอนปลาย จากนั้นเริ่มจังหวะช้าใหม่หากตีบอกเหตุร้ายเช่น เกิดการปล้น เกิดฆาตกรรมจะตีจังหวะเร่งเร็วติดต่อกันไปเป็นเวลานาน

ปัจจุบันหาดูเกราะไม้ได้ยากแล้วเนื่องด้วยมีระบบการสื่อสารยุคใหม่ ทำให้ความจำเป็นการสร้างเกราะไม้ลดลงในที่สุด บางส่วนก็ผุพังไปตามกาลเวลา ส่วนเกราะ 2 อันที่นำมาให้ชม
เป็นเกราะที่มีอายุเกิน 50 ปี
เป็นของสะสมนำมาโชว์ที่ลานกิจกรรม ของวัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร โดยผู้ที่สนใจสามารถเดินทางมาชมได้จนถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 สำหรับเกราะ หรือ เหลาะ นี้ผู้ใหญ่บ้านรุ่นใหม่บางท่านยังคงก็รักษาไว้จากการสืบทอดมาจากผู้ใหญ่บ้านรุ่นก่อนๆ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดกันมา .



ข่าว : บุญพิพัฒน์ มากมี

https://m.facebook.com/groups/204701707104921/permalink/717549962486757/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น