วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

สุราษฎร์ธานี // นายอำเภอเกาะสมุย เยี่ยมธนาคารปูม้า บ้านเกาะพะลวย พบชุมชนชาวประมงวิถีชาวเล

สุราษฎร์ธานี // นายอำเภอเกาะสมุย เยี่ยมธนาคารปูม้า บ้านเกาะพะลวย พบชุมชนชาวประมงวิถีชาวเล .





ไทเกอร์นิวส์ สุราษฎร์ธานี
ศูนย์ข่าวภาคใต้ตอนบน

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 นายธีระพงศ์ ช่วยชู นายอำเภอเกาะสมุย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเกาะสมุย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย สมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอเกาะสมุย วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี เดินทางไปเยี่ยมชมธนาคารปูม้า บ้านเกาะพะลวย ของชุมชนชาวประมง หมู่ที่ 6 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนเรื่องกระชังที่ใช้เพาะพันธุ์ปูม้า และด้านวิชาการ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปล่อยลูกปูม้าคืนสู่ทะเลไทย และเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเกาะสมุย



การเดินทางไปยังธนาคารปูม้าบ้านเกาะพะลวย ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเกาะสมุย ประมาณ 20 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง เมื่อไปถึงบ้านเกาะพะลวย จะได้พบกับธรรมชาติที่สวยงามและวิถีชีวิตของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่มีประมาณ 102 ครอบครัว ซึ่งก่อสร้างบ้านพักอยู่ตามแนวชายหาดที่ขาวสะอาด ส่วนในท้องทะเลเมื่อมองจากชายหาด ก็จะเห็นความสวยงามของเกาะแก่งน้อยใหญ่ เช่น เกาะมดแดง เกาะหินจาน และเกาะหลัก ซึ่งมีทั้งหาดทรายขาว ถ้ำ ส่องนก อ่าวเทียน อ่าวสน อ่าว 1-4 ซึ่งเกาะพะลวย อยู่ในหมู่ที่ 6 ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากเกาะวัวตาหลับ ซึ่งบางส่วนของเกาะอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประมาณครึ่งเกาะ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 กรมอุทยาน ได้ประกาศหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นแห่งที่ 21 ของประเทศ ส่วนเหลือเป็นที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง



คุณสมเกียรติ จันทร์แจ่ม ประธานกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์ปูม้าบ้านเกาะพะลวย (ธนาคารปูม้าบ้านเกาะพะลวย) เล่าให้ฟังว่า คำว่า “เกาะพะลวย” นั้น หมายถึง ชื่อที่มาของเกาะพะลวย มาจากหลายแนวคิดคือ เกาะพะลวยมียอดเขาแหลม 3 ยอด มีลักษณะคล้ายพลวยน้ำ บ้างก็บอกว่าเห็นควันไฟพลวยพุ่งขึ้นมาจากยอดเขา บางคนก็เชื่อว่าเกิดจากพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถทำมาหากินได้อย่างสะดวกเลยมีชื่อว่าเกาะมารวย และเพี้ยนมาเป็นเกาะพะลวย แนวคิดสุดท้ายคือ เชื่อว่ามีพระธุดงค์ มาจากสวนโมกข์พลาราม ได้เดินทางมาพร้อมกับชาวบ้านโดยตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ไว้ 2 ชื่อ ชื่อแรกคือเกาะพะลวย และอีกชื่อคือ เกาะพุทธรักษาธรรมคุ้มครอง (สนทนากลุ่มชุมชนเกาะพะลวย,2559) ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับชื่อที่มาของเกาะพะลวยจึงมีแนวคิดที่หลากหลาย



ข่าว : พ.ท.อำนาจ ปาทะกาญจน์

https://www.facebook.com/100037714065117/posts/424951452105320/?d=n

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น