วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นเรารักประเทศไทย" เฮ เตรียมนำเกษตรกรปลูก "กัญชง" หวังเป็นพืชเศรษฐกิจไทย หลังรัฐบาลปลดล็อค

"วิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นเรารักประเทศไทย" เฮ เตรียมนำเกษตรกรปลูก "กัญชง" หวังเป็นพืชเศรษฐกิจไทย หลังรัฐบาลปลดล็อค





วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นเรารักประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตรงกับวันที่ 29 มกราคม 2564 เป็นต้นไป กฎกระทรวงฉบับนี้เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้ง เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ประชาชนทั่วไปสามารถขออนุญาต และนำกัญชงไปใช้ในทุกวัตถุประสงค์ ตั้งแต่ การแพทย์ การศึกษา วิจัย การใช้ตามวิถีชีวิต ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ และการค้า เพื่อนำส่วนต่าง ๆ ของกัญชงไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ทั้งยา อาหาร เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ การผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายจะต้องขออนุญาตตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย

นอกจากนี้ กฎกระทรวงฉบับนี้ยังเปิดให้สามารถส่งออกกัญชงได้ และภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ สามารถนำเข้าเมล็ดพันธุ์เพื่อนำมาปลูกได้อีกเช่นกัน โดยผู้ที่ต้องการขออนุญาตให้ยื่นคำขอ ณ สถานที่ปลูกที่ตั้งอยู่ หากอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นที่ อย. หากอยู่ที่ต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ส่วนการนำเข้าหรือส่งออกขณะนี้ให้ยื่นที่ อย. สำหรับการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพจะมีกฎหมายรองรับการนำไปใช้ประโยชน์จากพืชกัญชง และทาง อย. พร้อมส่งเสริมกัญชงเป็นพืชที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน



ผศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า กัญชง เป็นไม้ล้มลุกมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แตกต่างกัน คือ ต่อมน้ำมันของกัญชงมีน้อยกว่า จัดอยู่ในพืชซึ่งให้ประโยชน์หลักทางด้านสิ่งทอเป็นสำคัญ เดิมทีนั้นกัญชงเคยเป็นพืชล้มลุกที่ได้รับการจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลตำแย (Urticaceae) แต่ว่าในตอนหลังนั้นพบว่ามันมีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่ต่างออกไปจากพืชตระกูลตำแยเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแบ่งเป็นอีกวงศ์หนึ่งโดยเฉพาะนั้นคือวงศ์ Cannabidaceae จากข่าวกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 เฉพาะกัญชง หรือเฮมพ์ (Hemp) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและเชิงอุตสาหกรรม โดยระยะ 3 ปี แรกจะให้เฉพาะ “หน่วยงานรัฐ” เป็นผู้ขออนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง และให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษประเมินผล เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาความเหมาะสมที่จะอนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลยื่นขออนุญาต โดยสาระสำคัญของกฎหมายคือ สายพันธุ์กัญชงต้องมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง(1-3) นั้น หลายคนคงสงสัยว่ากัญชงกับกัญชานั้นต่างกันอย่างไร และมีประโยชน์ด้านใดบ้างที่ทำให้รัฐบาลส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างเป็นทางการ



หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ต้นกัญชง ก็คือ กัญชา แต่ความจริงแล้วต้นกัญชงแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แต่ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพราะมีสาร THC ในปริมาณน้อยกว่ามากจึงไม่มีผลทำให้เกิดมึนเมาหรือเสพติด แต่มีประโยชน์ในด้านการแพทย์และอื่น ๆ เช่น ต้นกัญชงเป็นพืชที่สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอผ้าที่มีคุณภาพดี เพราะว่า “กัญชง” มีสรรพคุณและประโยชน์ของต้นกัญชง อนาคตของกัญชง ในปัจจุบันประเทศไทยยังจำแนกกัญชงเป็นพืชเสพติดประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เนื่องจากสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชกลุ่มนี้ คือ tetrahydrocannabinol (THC), Cannabinol (CBN) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่ง THC เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ส่วนสาร CBD เป็นสารต้านการออกฤทธิ์ของสาร THC ซึ่งในกัญชงนั้นจะมีปริมาณของสาร THC ต่ำมาก และมีปริมาณของสาร CDB สูงกว่าสาร THC ส่วนกัญชานั้นจะมีปริมาณของสาร THC สูง (ประมาณ 1-10%) และปริมาณของสาร THC ก็ยังมากกว่า CBD อีกด้วย จึงทำให้ในหลาย ๆ ประเทศอนุญาตให้มีการปลูกต้นกัญชงได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ต้องควบคุมไม่ให้พืชที่ปลูกมีสารเสพติด (THC) สูงกว่าปริมาณที่กำหนด อย่างในประเทศทางยุโรปจะกำหนดให้มีสาร THC ในกัญชงได้ไม่เกิน 0.2% ส่วนในประเทศแคนาดากำหนดให้มีไม่เกิน 0.3% และในประเทศออสเตรเลียกำหนดให้มีไม่เกิน 0.5-1% เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีเกณฑ์หรือมาตรการควบคุม เพราะสภาพแวดล้อมที่ปลูกนั้นมีผลต่อปริมาณของสาร THC โดยตรง และจากสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยที่ค่อนข้างร้อนจึงอาจทำให้ปริมาณของสาร THC ในกัญชงที่ปลูกนั้นมีปริมาณค่อนข้างสูง ผศ.ดร.อานนท์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น