วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำคณะติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ทดสอบระบบปล่อยน้ำจากเขื่อนพลวง ลงแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง

ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำคณะติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พื้นที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ทดสอบระบบปล่อยน้ำจากเขื่อนพลวง ลงแม่น้ำจันทบุรีเพิ่มขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง



วันนี้ ( 18 ก.พ.64 ) ที่สำนักงานโครงการเขื่อนพลวง ม.4 ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการังหวัดจันทบุรีนำหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายก อบจ.จันทบุรี / ผอ.ปภ.เขต 17 กำนัน – ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ตัวแทนเกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง รับทราบปัญหา อุปสรรค ความต้องการ หลังรับทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าน้ำจากเขื่อนพลวงที่ปล่อยลงไปช่วยเหลือประชาชน และ เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำจันทบุรีกระจายไม่ทั่วถึงเพียงพอโดยการหารือ นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีได้กล่าวสรุปว่าปีนี้น้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อนพลวงมีปริมาณมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ และการแบ่งปันของพื้นที่ต้นน้ำ ครั้งนี้จังหวัดจะทดสอบการผันน้ำจากเขื่อนพลวง ลงพื้นที่ท้ายน้ำให้กระจายซึ่งเขื่อนพลวงมีระบบการจ่ายน้ำโดยใช้ระบบท่อทั้งหมด ผลัดหมุนเวียนกันแต่ละจุดแต่ละจุด ตรงจุดนี้คือ จุดออฟเทส 226 / 227 มีน้ำเพียงพอต่อพื้นที่ทั้ง108,000 ไร่ ตามแผนของเขื่อนพลวง แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำไปไม่ทั่วถึง ทางจังหวัดจึงขอให้เขื่อนพลวงทดสอบการปล่อยน้ำเพิ่มในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นน้ำที่ปล่อยลงไปในพื้นที่แม่น้ำจันทบุรี ตรงท้ายเขื่อน ให้มาปล่อยเพิ่มเหนือแม่น้ำจันทบุรีผ่านระบบท่อที่ อบจ.ทำไว้และ ไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่ 108,000 ไร่





ลองทดสอบปล่อยน้ำเพิ่ม 12 ชั่วโมง ซึ่งจะทดลองปล่อยน้ำที่ต้นแม่น้ำจันทบุรี 30,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันแล้วจะมีการประเมินผล ต่อไป อันนั้นก็จะเป็นการบริหารน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและมั่นใจว่าปีนี้น้ำต้นทุนของเขื่อนพลวง และเขื่อนคิรีธาร มีเพียงพอ แต่ขอให้เกษตรกรใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และแบ่งปันน้ำให้ทั่วถึง
ด้านนายธนพล กิจกาญจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่าได้มีโอกาสติดตามท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับในเรื่องของการบริหารจัดการ ในลุ่มแม่น้ำจันท์ตอนบนก็คือใต้บริเวณของเขื่อนพลวง ได้ข้อสรุปร่วมกันก็คือในช่วงของระยะเวลาการปล่อยน้ำของเขื่อนพลวงตั้งแต่เวลา 06:00 น ถึง 18:00 น พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่บริการของจุดที่ 226 และ 227 ก็จะดำเนินการปกติแต่หลัง 18:00 ในวันนี้กันจนถึง 6 โมงเช้าในวันพรุ่งนี้ลองเปิดน้ำไปในส่วนของกลุ่มผู้ใช้น้ำอีกบางส่วน





เพื่อที่จะลงสู่แม่น้ำจันท์ จะดูว่าผลกระทบหรือแรงดันที่เขื่อนพลวงได้ปล่อยเป็นวงรอบ วงรอบละ 8 วันจะมีผลกระทบต่อผู้ที่บริการในเรื่องของการใช้น้ำของจุดออฟเทสทั้ง 2 จุดหรือไม่ เพราะฉะนั้นตรงนี้จะเป็นแนวทางที่จะบริหารจัดการในเรื่องของลุ่มน้ำทั้งหมดเพราะว่าน้ำส่วนหนึ่งตามแผนการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนพลวงก็จะมีโครงการเปิดน้ำประมาณ 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เพื่อที่จะหล่อเลี้ยงน้ำบางส่วนไปยังที่ฝายท่าระม้า และข้ามฝายไหลลงไปสู่โรงสูบของการประปาภูมิภาคป้องกันภัยแล้ง และการประปาในเขตเมือง แต่ถ้าในกรณีที่การประปาภูมิภาค น้ำอยู่ในขั้นที่ไม่น่าไว้วางใจจะได้มีการปรับแผนเพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้งต่อไป ลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนผลไม้ และ ผู้ใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาค ช่วงแรกเป็นการทดสอบความดันของแรงดันน้ำทีเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาหรือไม่อย่างไรและจะได้มีการสรุปผลอีกครั้ง ต่อไป





ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น