วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ตัวแทนกลุ่ม saveบางกลอย โดยมีนาย พฤ โอโด่เชา พร้อมด้วยพวกจำนวน 100 คน ได้รวมตัวกันบริเวรสวนหลวง ร.9 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 25 ก.พ. 64 ,ตัวแทนกลุ่ม saveบางกลอย โดยมีนาย พฤ โอโด่เชา พร้อมด้วยพวกจำนวน 100 คน ได้รวมตัวกันบริเวรสวนหลวง ร.9 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พร้อมกับมีป้ายเขียนข้อความต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวกะเหรี่ยงบางกอย ที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบตัวเมื่อสองวันก่อน จากนั้นกลุ่ม ฯ





ได้เดินทางไปยังศาลากลางเชียงใหม่ เพื่อยื่นหนังสือถึงรัฐบาลโดยผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เส้นทางถนนโชตนา
ต่อมาเวลา 14.45 นายศรัณยู มีทองคำ รอง ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ ลงมารับหนังสือจาก ภาคี saveบางกลอย โดยมีนาย พฤ โอโด่เชา ตัวเทนของภาคีเป็คคนยื่น โดยเนื้อหาของหนังสือคือ
"ภาคีSAVEบางกลอย
แถลงการณ์ ทวงคืนความเป็นคน
คืนสิทธิบรรพชนให้ใจแผ่นดิน

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2564 ราษฎรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย - ใจแผ่นดิน และภาคี #SAVEบางกลอย ได้ปักหลักติดตามการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลบริเวณทำเนียบรัฐบาล และได้ทำบันทึกข้อตกลงการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปะอาชา, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า, ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์, อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช นายธัญญา เนติธรรมกุล, ผู้แทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม นายจำนงค์ หนูพันธ์, ผู้แทนภาคี #SAVEบางกลอย นายณัฐวุฒิ อุปปะ และตัวแทนชุมชนบางกลอย-ใจแผ่นดิน นายพงค์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ตามบันทึกข้อตกลง
1. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกจากชุมชนบางกลอยทั้งหมด
2. หยุดการสกัดการขนส่งเสบียง รวมถึงการตั้งจุดสกัดเดิม แล ะที่จุดเพิ่มเติมขึ้นมาทั้งหมด
3. ยุติคดีของสมาชิก ภาคี #saveบางกลอย ทั้งหมด 10 คน กรณีการยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
แต่เนื่องจากสถานการณ์เรียกได้ว่า รัฐบาลและส่วนที่เกี่ยวข้อง ตาอการแก้ไขปัญหาของบางกลอยได้ตระบัดสัตย์ไม่ทำตามบันทึกข้อตกลง จากกรณีวันที่ 22 – 24 กุมาพันธ์ 2564 ได้มีชุด ที่เรียกว่า ยุทธ์การพิทักษ์ป่าต้นน้ำเพชร ที่เป็นการสนธิกำลังหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ทัพพญาเสือ เจ้าหน้าที่ ตชด 114 ฝ่ายปกครอง สภ.แก่งกระจาน เจ้าหน้าที่อุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช ได้เข้าไปเพื่อคุกคาม กดดัน และพยายามที่จะใช้ความรุนแรง กับชาวบ้านที่กลับขึ้นยังใจแผ่นดิน จำนวน 36 ครอบครัว และได้กดดันให้ชาวบ้านลงมาแล้ว จำนวน 13 คน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทางเครือข่าย อีกทั้ง กรณีวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีตัวแทนจากชาวเลย์ราไว ได้นำข้าวสารอาหารแห้ง เข้าไปสบทบให้พี่น้องบางกลอยที่กลับไปยังใจแผ่นดินได้ยังชีพ จนได้เจรจากับด่านจุดสกัดห้วยมะเร็วและเจ้าหน้าที่แค่อนุญาตให้เข้าไปเพียง 1 ชั่วโมง #ภาคีSAVEบางกลอย เห็นว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่พยายามที่จะละเมิดข้อตกลง ร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 นั้นแปลว่าบันทึกข้อตกลงไม่ได้รับการตอบสนองต่อเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ และไม่เกิดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องบางกลอยได้อย่างแท้จริง ดังนั้นนาม #ภาคีSAVEบางกลอย จึงมีข้อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ดังนี้



1. ให้ชาวบ้านที่ประสงค์กลับไปทำไร่หมุนเวียนและดำรงค์วิถีชีวิตวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน สามารถกลับขึ้นไปอยู่อาศัย ทำกินและดำรงค์ชีวิตตามวิถีดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ได้โดยการรับรองสิทธิในการอยู่อาศัยและที่ทำกินในพื้นทีชุมชนดั้งเดิม และให้หน่วยงานรัฐและส่วนที่เกี่ยวข้อง ศึกษาระบบการทำไร่หมุนเวียน และยอมรับวิถีการทำไร่หมุนแบบดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง
2. ให้ยุติการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ที่เข้าไปตั้งจุดตรวจ ด่านห้วยมะเร็วและชุดลาดตระเวนในหมู่บ้านบางกลอยล่าง ที่พยายามจะเข้าไปคุกคาม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงยุติการข่มขู่คุกคาม หรือใช้ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับชาวบ้าน 36 ครอบครัว ที่กลับไปอยู่อาศัยและทำกินอยู่ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน
3. ให้ยุติการขัดขวางการส่งข้าวอาหาร และสิ่งของจำเป็นไปให้กับชาวบ้านบางกลอยบน
4. ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวติชาวกะเหรี่ยงโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะมาตรการด้านการยุติ การจับกุม ดำเนินคดี และการคุมครองพื้นที่เกษตรกรรมในรูปแบบไร่หมุนเวียน
5. ในกรณีที่ชาวบ้านครอบครัวใดประสงค์จะอยู่ที่บ้านบางกลอยล่างให้รัฐดำเนินจัดสรรที่ดินทั้งที่ดินอยู่อาศัยและที่ทำกินให้เพียงพอต่อการดำรงค์ชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมั่นคง
6. รัฐบาลต้องยุติการดำเนินการสนธิกำลังของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการตั้งจุดสกัดเดินลาดตระเวนและตรวจค้น สร้างแรงกดดันและความหวาดกลัวให้กับชาวบ้านบางกลอย และมีมาตราการในการคุมครองสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของสมาชิกชุมชนบางกลอยทุกคน
ตามข้อเสนอถ้ายังไม่มีรับการตอบรับหรือการดำเนินการที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของ กลุ่ม#ภาคีSAVEบางกลอย ภายใน 15 วัน กลุ่ม#ภาคีSAVEบางกลอย จะยกระดับการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ เพื่อไปติดตามข้อเรียกร้อง ณ ทำเนียบรัฐบาล

เชื่อมั่นและศรัทธาในพลังประชาชน
ชาติพันธ์ก็คือคน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564

โดยหลังจากนี้ภาคีเครือข่าย #saveบางกลอย จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมที่ลานประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ โดยกิจกรรมจะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น