วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

นายกิตติ วะสีนนท์ สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมสัมมนา Webinar ในหัวข้อ “การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2564: บทบาทของสมาชิกรัฐสภา”

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.30-12.30 นาฬิกา นายกิตติ วะสีนนท์ สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนรัฐสภาไทย เข้าร่วมการประชุมสัมมนา Webinar ในหัวข้อ “การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2564: บทบาทของสมาชิกรัฐสภา”





(The UN General Assembly Special Session against corruption (UNGASS) 2021: What role are there for parliamentarians?) ตามคำเชิญของ ดร. Fadli Zon สมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซียและประธาน SEAPAC ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องประชุมสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ชั้น 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
การประชุมสัมมนา Webinar ในครั้งนี้จัดโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการต่อต้านการทุจริต (Southeast Asian Parliamentarians against Corruption – SEAPAC) ร่วมกับรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีนาย Mardini Ali Sera สมาชิกรัฐสภาและเลขาธิการ SEAPAC เป็นผู้ดำเนินรายการ และวิทยากร 3 คน คือ (1) นาย Francesco Checchi ที่ปรึกษาภูมิภาคด้านการต่อต้านการทุจริต UNODC, (2) นางสาว Hajjah Suhana binti Haji Sudin ผู้อำนวยการสถาบันต่อต้านการทุจริตบรูไน (Brunei Anti-Corruption Institution) และผู้แทนภาคีอาเซียนในการต่อต้านการทุจริต (ASEAN Parties against Corruption – ASEAN-PAC) และ (3) นาย Mochamad Hadiyana ผู้ช่วยด้านข้อมูลสารสนเทศและข่าวสาร จากคณะกรรมการขจัดการทุจริตอินโดนีเซีย (Indonesia Corruption Eradication Commission) นอกจากนี้ มีผู้แทนจากหน่วยประจำชาติใน GOPAC ได้แก่ นาย Datuk Haji Hasanuddin Bin Mohd Yunus สมาชิกรัฐสภามาเลเซีย และ นาย Ouk Darmry สมาชิกกรรมาธิการด้านการสืบสวนและการต่อต้านการทุจริต จากรัฐสภากัมพูชา ร่วมการอภิปราย



ทั้งนี้ การสัมมนามีประเด็นอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้สอดคล้องกับวาระของการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ประจำปี 2564 หรือ UNGASS 2021 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2564 โดยมุ่งเสริมสร้างความตระหนักของสถาบันนิติบัญญัติในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตลอดจนเรียกร้องให้ประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention against Corruption – UNCAC) ปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ รวมไปถึงมีการแก้ไขกฎหมายของประเทศที่มีอยู่ให้สอดคล้องตามอนุสัญญาฯ โดยสมาชิกรัฐสภาถือเป็นกลไกสำคัญที่มีส่วนช่วยในการผลักดันประเด็นการออกกฎหมาย



ภาพ/ข่าว ฤทธิรณ ปัญญากาบ ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น