วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

ร้อยเอ็ด ประชุมติดตามการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน และแจ้งมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดร้อยเอ็ด "ชีวิตวิถีใหม่ ร้อยเอ็ด ขับขี่ปลอดภัย 365 วัน"

ร้อยเอ็ด ประชุมติดตามการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน และแจ้งมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดร้อยเอ็ด "ชีวิตวิถีใหม่ ร้อยเอ็ด ขับขี่ปลอดภัย 365 วัน"



เวลา ๑๐.๐๐ น. นายเธียรชัย พุทธรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมติดตามการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองร้อยเอ็ด (ศปถ.อำเภอเมืองร้อยเอ็ด) ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองร้อยเอ็ด โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งที่ประชุมได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยนำข้อมูลสถิติอุบัติเหตุ มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่ ควบคู่กับการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาด covid-19 และเน้นดำเนินการเข้มข้นสำหรับตำบลเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
นายคมเพชร สีดามาตร์ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แจ้งมาตรการ สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด แจ้ง 5 มาตรการ ป้องกันอุบัติเหตุ และป้องกัน โควิท-19 ในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดร้อยเอ็ด "ชีวิตวิถีใหม่ ร้อยเอ็ด ขับขี่ปลอดภัย 365 วัน" สรุปได้ ดังนี้
มาตรการที่ 1 ด้านบริหารจัดการ
1."ใช้กลไก ศปถ.จังหวัด สปถ.อำเภอ สปถ.อปท. ควบคู่กับมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น พชอ.
2. แต่งตั้งคณะทำงานชุดเล็ก Core tam เพื่อให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น
3.ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในทุกระดับ
4.นำข้อมูลมาวิเคราะห์ กำหนดมาตรการ แนวทาง
5.เน้นย้ำเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านวินัยจราจร
6.ขับเคลื่อนตำบลขับขี่ปลอดภัย
7.ให้อำเภอเสี่ยง / มีแหล่งท่องเที่ยว หาแนวทางในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนเป็นพิเศษ
มาตรการที่ 2 ลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม
1.สำรวจจุดเสี่ยง จุดอันตราย ในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่
2.ตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนให้มีความปลอดภัย ติดตามการแก้ไข
3.ให้อำเภอ ดูแลตรวจสอบมาตรฐานกาก่อสร้างถนนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน หากยังดำเนินการไม่เรียบร้อย ให้แจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบสายทาง เพื่อดำเนินการแก้ไข
มาตรการที่ 3 ลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ
1.ตรวจสอบความพร้อม รถโดยสารสาธารณะ อุปกรณ์นิรภัย
2.ตรวจสอบสภาพรถ ระบบเบรค ล้อ ไฟหน้าไฟท้าย และอุปกรณ์ส่วนควบด่าง ๆ ให้มีความพร้อม ปลอดภัย โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ รวมถึงการจัดทำ พ.ร.บ. และต่อภาษีรถ เป็นประจำทุกปี

มาตรการที่ 4 ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
1.ใช้กลไกของท้องที่ควบคุม ดูแลผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการมาตรการเชิงรุก "เคาะประตูบ้าน" เพื่อสอดส่อง ดูแล ป้องปรามและตักเดือนผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
2.ใช้กลไก "ด่านครอบครัว" ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยง โดยให้สมาชิกในครอบครัวคอยเฝ้าระวัง ตักเตือน และป้องปรามสมาชิกในครอบครัวของตนเอง
3.การจัดทำ "ประชาคมชุมชน/หมู่บ้าน" ให้กำหนดข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางถนนให้ประชาชนถือปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่
4.บังคับใช้กฎหมาย เข้มงวด จริงจัง ดลอดจนการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการขับขี่อย่างปลอดภัย ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย/คาดเข็มขัดนิรภัย 100 %
มาตรการที่ 5 ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ
1.เตรียมพร้อมอุปกรณ์ บุคลากร ทีมกู้ชีพกู้ภัย ให้ดำเนินการตามแนวทางในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมและการเยียวยาหลังเกิดเหตุ
2.ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ เช่น การจ่ายค่าสินไหมทดแทน การจัดทำประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ.การแจ้งเหตุ 1669 ดลอด 24 ชั่วโมง
ด้านการ ป้องกัน COVID - 19
ในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ให้ดำเนินการตามแนวทาง ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ด้วย เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย ทั้งจากอุบัติเหตุทางถนน และจาก COVID-19



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น