วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

ม.แม่โจ้ จับมือภาคเอกชน ร่วมสร้างคน เสริมความรู้ ใช้และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไทยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสูงสุด

ม.แม่โจ้ จับมือภาคเอกชน ร่วมสร้างคน เสริมความรู้ ใช้และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไทยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าสูงสุด











วันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จับมือภาคเอกชน ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสมาคมผู้ประกอบการและช่างพลังงานแสงอาทิตย์ (TSA) และ บริษัท ไทย ไบโอ แมททีเรียล จำกัด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายพลกฤต กล่ำเครือ นายกสมาคมผู้ประกอบการและช่างพลังงานแสงอาทิตย์ และ นายฮิโร โยชิ โอซาวา ประธานกรรมการ บริษัท ไทย ไบโอ แมทรีเรียล จำกัด เป็นผู้แทนลงนามของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้ มีผู้บริหารของแต่หน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย









สำหรับ การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ สมาคมผู้ประกอบการและช่างพลังงานแสงอาทิตย์ (TSA) ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมมือกันในกาผลิตและส่งเสริมให้นักศึกษาวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาศักยภาพในการประกอบกิจการด้านพลังงานทดแทนและเป็นผู้มีความสามารถและมีทักษะ ความชำนาญ ในสายงานพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งสองหน่วยงาน ร่วมกันดำเนินการจัดหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รวมถึงการสนับสนุนวิจัยและค้นคว้าวิชาการในด้านพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดอบรมให้ความรู้และฝึกงานหลักสูตรสหกิจศึกษา ให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา พร้อมทั้งจะดำเนินการขอการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน) ในการรับรองคุณภาพของบัณฑิตวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และจะร่วมกันดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน







ในส่วนของการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท ไทย ไบโอ แมททีเรียล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลให้กับหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมและชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยใช้เทคโนโลยีจากประเทศญี่ปุ่น ด้วยองค์ความรู้ บุคลากร และโรงงานผลิต มีความพร้อมที่จะให้ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา วิจัยและบริการวิชาการ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการก้าวเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่มีการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด (Green Energy) ทั้งสองฝ่ายจึงได้ร่วมกันค้นคว้า วิจัย ทดสอบ และสาธิตเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม งานวิจัย/หรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้สามารถนำเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม เชิงพาณิชน์และกลุ่มอุตสาหกรรม (S-Curve) และร่วมส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการพลังงานทดแทน ส่งเสริมการผลิตบัณฑิต เพิ่มทักษะทางวิชาชีพ (Upskill and Reskill) รวมถึงการปรับวุฒิทางการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และร่วมกันพัฒนางานด้านพลังงานทดแทนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ การให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม รวมถึงการบูรณาการด้านบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย สถานประกอบการ หรือชุมชน อีกด้วย.



ทรงวุฒิ ทับทอง
Cr.ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น