วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

คณะทำงานโฆษก ทภ.3/กอ.รมน.ภาค 3 แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ประชาสัมพันธ์ 4 เรื่องใหญ่

คณะทำงานโฆษก ทภ.3/กอ.รมน.ภาค 3 แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ประชาสัมพันธ์ 4 เรื่องใหญ่











วันที่ 16 เมษายน 2564 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ, พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล และ พันโท หญิง บุณฑริกา ฑีฆวาณิช ผู้ช่วยโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้.-

1. สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กับจุดความร้อนสะสมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง



2. การสกัดกั้นการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย



3. การสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤต





4. โรคเท้าเหม็น (Pitted Keratolysis)



สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ กับจุดความร้อนสะสมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง





วันที่ 16 เมษายน 2564 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ, พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล และ พันโท หญิง บุณฑริกา ฑีฆวาณิช ผู้ช่วยโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้.-
ตามที่ประเทศไทย ได้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและคุณภาพอากาศ ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 มาจนถึงปัจจุบัน สถานการณ์จุดความร้อนและค่าคุณภาพอากาศทางภาคเหนือ เริ่มส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีปริมาณสูงขึ้น อีกทั้งประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้ง ประกอบกับสภาพอากาศปิด ลมสงบนิ่ง จึงส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศโดยรวมของพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก













กองทัพภาคที่ 3 และทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ในการลดปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนืออย่างจริงจัง โดยได้วางมาตรการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ได้กำหนดให้มีการปิดป่าในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 61 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2564 และขอให้ ทุกจังหวัดเร่งรัดการควบคุมไฟป่า และการเผาในพื้นที่โล่งอย่างเข้มงวด อีกทั้ง ประกาศให้ภาคเหนือตอนบน เป็นพื้นที่ “ห้ามเผาโดยเด็ดขาด” หากมีความจำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่อำเภอ หรือจังหวัดก่อน เพื่อให้มีการเฝ้าระวังและควบคุมเพลิงไม่ให้ลามไปยังพื้นที่ป่าและดับไฟให้เรียบร้อยเมื่อเสร็จภารกิจ ซึ่งจากมาตรการดังกล่าว ทำให้จุดความร้อนสะสมในปี 2564 (ณ วันที่ 14 เมษายน 2564) ลงลดกว่า 42,803 จุด หรือมากกว่าร้อยละ 60.49 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เกิดจิตสำนึกมีความรักและหวงแหนป่าไม้ในบ้านเกิด รวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนต้องมีการวางแผนในให้เป็นระบบแบบแผนตามลำดับขั้นตอนได้อย่างมั่นคงและทันท่วงที.



การสกัดกั้นการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย





วันที่ 16 เมษายน 2564 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ, พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล และ พันโท หญิง บุณฑริกา ฑีฆวาณิช ผู้ช่วยโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้.-
ตามที่รัฐบาล ได้มีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านความมั่นคง โดยบูรณาการหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุม และสกัดกั้นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ



ประกอบกับที่รัฐบาลได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีข้อกำหนดตามกรอบพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้พิจารณาให้ระงับการใช้ช่องทางการเข้าออกประเทศในทุกพื้นที่ที่มีเขตติดต่อชายแดน เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาจนถึงปัจจุบัน นั้น



ในการนี้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการ กองทัพภาคที่ 3 ได้กำชับให้ทุกหน่วยที่มีพื้นที่ตามแนวชายแดน ได้เฝ้าระวังการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายของกลุ่มแรงงาน ต่างด้าว รวมไปถึงคนไทยที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านและลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างจริงจัง โดยได้สั่งการให้กองกำลังนเรศวร และกองกำลังผาเมือง ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่จังหวัดตาก, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่ และเชียงราย ได้เพิ่มมาตรการอย่างเข้มงวดในการสกัดกั้นการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ดังนี้.-
1. เพิ่มความเข้มงวดในการสกัดกั้นการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายตามช่องทางธรรมชาติในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เหมือนที่ปฏิบัติในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในทุกๆ พื้นที่
2. บูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประสานไปยังประเทศเมียนมา ผ่านคณะกรรมชายแดนส่วนท้องถิ่น (TBC) ในการให้ความร่วมมือในการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าว รวมไปถึงคนไทยที่ไปทำงานในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้านและลักลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย
3. เพิ่มความเข้มงวดในการลาดตระเวนเฝ้าตรวจตามช่องทาง/ท่าข้ามที่ล่อแหลม และการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดตามเส้นทางตามแนวชายแดน ไทย - เมียนมา รวมทั้งความเข้มงวดในการตรวจบุคคลและยานพาหนะ บริเวณจุดตรวจ/ด่านตรวจและจุดสกัดกั้น และเส้นทางอ้อมผ่านจุดตรวจ/ด่านตรวจฯ เพื่อสกัดกั้นและป้องกันการลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าว หลังพบว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ในรัฐต่างๆ ของเมียนมา
4. จัดชุดปฏิบัติการ รวมทั้งชุดแพทย์ทหาร ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ไปตามหมู่บ้านและชุมชน ให้คอยเฝ้าระวังสอดส่องหากพบบุคคลต้องสงสัยให้รีบแจ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ หรือแจ้งศูนย์ดํารงธรรมจังหวัด ทางสายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
5. จัดตั้งช่องทางการแจ้งเบาะแส การลักลอบกระทำผิดกฎหมาย ผ่านระบบ Applications Line ชื่อ “สายตรงแม่ทัพภาคที่ 3” ID Line : ISOC3 โดยขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันแจ้งเบาะแส เพื่อทราบข้อมูลและนำไปสู่การปฏิบัติ ในการสกัดกั้นการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
6. การติดตั้งไฟส่องสว่างในช่องทางที่ล่อแหลม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
7. การทำเครื่องกีดขวางและปรับปรุงลวดหนาม บริเวณช่องทาง/ท่าข้ามตามธรรมชาติ
8. ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง, หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ และผู้นำชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการเพิ่มมาตรการในการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าว, ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ทั้งการแจ้งเบาะแส, การกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวมถึงการสร้างการรับรู้ เข้าใจ และรับทราบข้อมูลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19



โดยในห้วงวันที่ 1 – 14 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา กองกำลังนเรศวร (พื้นที่จังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน) และกองกำลังผาเมือง (พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย) สามารถจับกุมแรงงานต่างด้าว ที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย จำนวน 29 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 137 คน.



การสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤต



วันที่ 16 เมษายน 2564 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ, พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล และ พันโท หญิง บุณฑริกา ฑีฆวาณิช ผู้ช่วยโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้.-
กองทัพภาคที่ 3 ได้จัดเฮลิคอปเตอร์ แบบ Bell-212 จากชุดปฏิบัติการบิน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 กองกำลังนเรศวร ร่วมกับคณะแพทย์ของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำการบินเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน จำนวน 2 เหตุการณ์ ดังนี้.-



เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2564 ทำการบินเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินเด็กผู้หญิง อายุ 3 เดือน ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 90 หมู่ที่ 3 ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีอาการช็อค จากการติดเชื้อ และมีภาวะหัวใจล้มเหลว เห็นควรต้องนำส่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อรักษาอาการต่อเป็นการเร่งด่วน โดยทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศยาน มาจากสนามบินเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปยังสนามบินเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะแพทย์ พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งรถพยาบาลฉุกเฉินมารับ เพื่อทำการรักษาต่อไป



เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 ทำการบินเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินผู้ชาย อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 233 หมู่ที่ 2 ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีอาการบาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง และหัวใจหยุดเต้น เห็นควรต้องนำส่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อรักษาอาการต่อเป็นการเร่งด่วน โดยทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศยาน มาจากสนามบินเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงพยาบาลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปยังสนามบินเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคณะแพทย์ พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมทั้งรถพยาบาลฉุกเฉินมารับ เพื่อทำการรักษาต่อไป



การปฏิบัติภารกิจดังกล่าว กองทัพภาคที่ 3 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งการของกองทัพบก/ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ป่วยเจ็บกรณีฉุกเฉิน โดยการร้องขอของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยยึดถือบันทึกความตกลง (MOU) เรื่อง การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน ของกระทรวงกลาโหม ระหว่างกระทรวงกลาโหม, กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เมื่อ 29 มิถุนายน 2552



ทั้งนี้จึงขอเรียนให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า กองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมที่จะสนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางทหารในการช่วยเหลือประชาชนยามวิกฤตทุกโอกาส.



โรคเท้าเหม็น (Pitted Keratolysis)



วันที่ 16 เมษายน 2564 กองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 แถลงข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ ครั้งที่ 128 ณ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี พันเอก รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก นายแพทย์ วิโรจน์ ชนม์สูงเนิน รองโฆษกฯ, พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล และ พันโท หญิง บุณฑริกา ฑีฆวาณิช ผู้ช่วยโฆษกฯ เป็นผู้แถลงข่าวฯ มีสาระสำคัญดังนี้.-



โรคเท้าเหม็น (Pitted Keratolysis) เป็นโรคของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นนอก ทำให้เท้าลอกและมีกลิ่นเหม็น พบได้บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าหุ้มส้นเป็นเวลานาน ทำให้มีความอับชื้น มักไม่มีอาการคัน แต่มีเท้าลอก ผิวหนังดูชื้นแฉะ มีกลิ่นเหม็น และโรคเริ่มเกิดที่ฝ่าเท้าก่อน ซึ่งเมื่อสังเกตที่ฝ่าเท้าพบว่ามีลักษณะเป็นรูเล็กๆ หรือถลอกเป็นปื้นๆ ร่วมกับอาการกลิ่นเหม็นนั้น ยิ่งไปกว่านั้น บางคนคิดว่าเป็นโรคน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อราจึงหาซื้อยาฆ่าเชื้อรามาทาแต่ก็ไม่หาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า อาการเท้าเหม็นที่ว่ามานั้นไม่ได้เกิดจากเชื้อราแต่เป็นเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งบางครั้งเรียกโรคนี้ว่า “โรคเท้าเป็นรู” หรือ “โรคเท้าเหม็นเป็นรู”



สาเหตุของโรคเท้าเหม็นจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคเท้าเหม็นจากเชื้อแบคทีเรีย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Pitted Keratolysis (พิต-เต็ด-เคอร์-รา-โท-ไล-สิส)” ตามลักษณะอาการที่พบ นั้นคือ ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าเป็นรู (Pitted = รู หรือ หลุม) เนื่องจากมีการหลุดลอกของผิวหนังชั้นบน (Keratolysis = การสลายของผิวหนังชั้นบน) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก โดยเฉพาะกลุ่ม Corynebacterium spp. (โค-ราย-นี-แบค-ที-เรียม) หรือ Kytococcus Sedentarius (ไค-โต-คอค-คัส-ซี-เด็น-ทา-เรียส) ซึ่งปกติพบบนผิวหนังของมนุษย์ในปริมาณพอเหมาะ แต่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในสภาวะอับชื้น โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรา ดังนั้น ผู้ที่มีเหงื่อออกมากและสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดีหรือไม่รักษาความสะอาดของถุงเท้าและรองเท้า มักส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวจนก่อให้เกิดโรคที่ฝ่าเท้าได้ โดยเชื้อเหล่านี้สามารถผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายผิวหนังชั้นบนจนเกิดเป็นรูหรือหลุม โดยเฉพาะฝ่าเท้าบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่มักไม่มีอาการคัน (แตกต่างจากเชื้อราหรือน้ำกัดเท้า) ส่วนกลิ่นเท้าที่เหม็นนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสร้างสารประกอบซัลเฟอร์ (Sulfur Compounds) ออกมาซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ จึงไม่ต้องกังวลว่าหากอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วจะติดมาด้วย



วิธีการรักษาโรคเท้าเหม็นจากเชื้อแบคทีเรีย
ยาหลักที่ใช้รักษาโรคนี้ ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดทาผิวหนัง ซึ่งใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาความสะอาดและดูแลเท้าด้วยสบู่ที่มียาฆ่าเชื้อ และอาจต้องใช้สารระงับเหงื่อ เช่น 20% Aluminium Chloride (อะ-ลู-มิ-เนียม-คลอ-ไรด์) ซึ่งมีทั้งชนิดผงโรยเท้าและน้ำยาทาเท้า วันละ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมใส่ถุงเท้าและรองเท้าร่วมด้วย



นอกจากนี้ บางกรณีแพทย์อาจจ่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดรับประทานให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเป็นบริเวณกว้าง หรือใช้ยาทาแล้วไม่หาย แต่ยารับประทานอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากกว่า เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการแพ้ยา เป็นต้น
วิธีการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเท้าเหม็นจากเชื้อแบคทีเรีย
สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วมักเป็นซ้ำได้อีก ดังนั้น จึงควรดูแลเท้าให้แห้งอยู่เสมอ และปฏิบัติตัวดังนี้.-
1) ล้างหรือฟอกเท้าด้วยสบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายที่ผสมยาฆ่าเชื้อ แล้วเช็ดให้แห้ง
2) ทาสารระงับเหงื่อที่เท้า (ดังกล่าวมาแล้ว) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
3) สวมถุงเท้าที่ดูดซับเหงื่อได้ดี เช่น ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้าย หรือ Wool เป็นต้น
4) เปลี่ยนถุงเท้าบ่อยขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออกมาก
5) สวมรองเท้าหุ้มส้น เช่น รองเท้าบูท รองเท้ากีฬา รองเท้าคัทชู ในช่วงเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
6) ไม่ควรสวมรองเท้าเดิมติดต่อกันเกินสองวัน ควรสลับการใช้เพื่อจะได้นำไปตากให้แห้ง
7) ควรสวมรองเท้าแตะที่มีการระบายอากาศที่ดี เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่จำเป็นต้องสวมใส่ชุดพิธีการมากนัก
8) ไม่ควรใช้ถุงเท้า รองเท้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น แม้โรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อ



คงเห็นแล้วว่าอาการเท้าเหม็นและเป็นรู นั้น สามารถป้องกันและรักษาได้ พลโท อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ 3/ผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 จึงได้มอบหมายให้โรงพยาบาลทหาร ทั้ง 10 แห่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคดังกล่าว ซึ่งหากพบว่ากำลังพล, ทหารกองประจำการ, ครอบครัวและพี่น้องประชาชน สงสัยมีอาการคล้ายโรคนี้ ควรไปปรึกษาแพทย์ผิวหนัง ณ โรงพยาบาลทหารทั้ง 10 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือ หรือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และรักษาให้หายขาดจากโรคดังกล่าวต่อไป.

ทรงวุฒิ ทับทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น