วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564

ตราด สวนดุสิตพัฒนามัคคุเทศก์นำเที่ยววิถีใหม่รับการท่องเที่ยวหลังโควิด

ตราด สวนดุสิตพัฒนามัคคุเทศก์นำเที่ยววิถีใหม่รับการท่องเที่ยวหลังโควิด

ผู้สื่อข่าว วิเชียร ม่วงสี วันที่ 3 เมย.64
ข่าว/ 09.30 น.วันที่ 3 เมย.64 ที่ห้องประชุมบ้านทะเลภูรีสอร์ท ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นำทีมโดย ผศ.ดร.จิรานุช โสภา หัวหน้าโครงการอบรมพัฒนามัคคุเทศก์และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดการพัฒนามัคคุเทศก์ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว นำเที่ยววิถีใหม่ เก๋ไก๋ Style Cool พร้อมด้วย ผศ.ธัญญชนก บุญเจือ ผศ.จตุพล ดวงจิตร อ.กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ อ.ทินกร ชุณหภัทรกุล ทีมวิทยากร และคณะทำงาน จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดอบรมโดยมีนักเรียน นักศึกษา ในอำเภอคลองใหญ่ และชุมชนที่จัดการท่องเที่ยว เข้าร่วมโครงการรวม 40 คน ใช้เวลาในการอบรมรวม 2 วันด้วยกัน
ซึ่งโครงการดังกล่าวสืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยรศ.ดร.พรรณี สวนเพลง พร้อมทีมวิจัย”การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน(Gastronomy Village Tourism)ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองชายฝั่งทะเลตะวันออก(ระยอง จันทบุรี ตราด) บนรากฐานคุณค่าและภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยมาจากหน่วยการบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ กพข. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศเป็นอย่างมาก และจากการวิจัยพบว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะต้องมีการฟื้นฟูการท่องเที่ยว ซึ่งก็มีหลักการอยู่2 ข้อ คือ การสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อเสริมสภาพคล่อง กระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนผ่านการเดินทางภายในประเทศ และการสร้างรายได้จากฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มีศักยภาพสูงด้านการใช้จ่าย ในการสร้างสมดุลเชิงโครงสร้างใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งปัจจัยสำคัญคือการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Upskill –Reskill



ในโครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับ ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน อันได้แก่ เชฟชุชน ยุวมัคคุเทศก์ชุมชน ผู้นำเที่ยวชุมชน ซึ่งจะมีการนำเสนอเมนูอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่นท่องเที่ยว ทั้งเอกลักษณ์ด้านอาหารท้องถิ่น มาเป็นองค์ประกอบในการเมนูท้องถิ่น ที่อร่อย สะอาด ได้มาตรฐานความปลอดภัยและยุวมัคคุเทศก์ชุมชน ผู้นำเที่ยวชุมชนยังเป็นตำแหน่งงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารไทยของชุมชน โดยจะมีการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว เรื่องราวความเป็นมาของอาหารภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกอบอาหารไทยของชุมชนอย่างลึกซึ้ง และสามารถถ่ายทอดสู่นักท่องเที่ยวได้อย่งามีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมในโครงการประกอบด้วย การให้ความรู้ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การใช้กิริยาท่าทางและคำพูดของอาสาสมัครท่องเที่ยว การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว การฝึกปฎิบัติตัดต่อวิดิโอให้ประทับใจ อีกทั้งยังมีการฝึกภาคปฎิบัติ อาทิ การเดินทางไปสะพานท่าเทียบเรืออเนกประสงค์อำเภอคลองใหญ่ อนุสรณ์สถานกรมหลวงชุมพรจ.ตราด ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลุมหลบภัยคลองใหญ่ และหาดจอมพลป.พิบูลสงครามอำเภอคลองใหญ่ เป็นต้น ผศ.ดร.จิรานุช โสภา หัวหน้าโครงการฯ บอกว่าโครงการนี้คาดหวังว่า จะช่วยพัฒนายุวมัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยวชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวที่ผ่อนคลายจากสถานการณ์ไวรัสโควิด 19 และเตรียมเปิดประเทศในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพื่อสร้างรายได้ เศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยวให้กับชุมชน และประเทศในโอกาสต่อไป





/ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น