ความคิดเห็นของประชาชน โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ แนวทางการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 30 มี.ค. 64 บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 ต่อขอบเขตและแนวทางการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ ณ ห้องประชุมสร้อยเพชร โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง โดยมีนายอนันต์ นาคนิยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วยนายบุญยืน เลาหะวิทยารัตน์ เลขาหอการค้า จังหวัดระยอง ให้เกียรติร่วมงาน
สำหรับโครงการดังกล่าวจัดขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง และวันนี้เป็นครั้งที่1 โดยมีประชาชนเข้าร่วมการรับฟังและแสดงข้อความคิดเห็น ข้อกังวลเป็นจำนวนมาก
การเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1นี้เป็นการรับฟังความเห็นต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการกิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน
โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติของบริษัท กัลป์ เอ็มทีวี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด
เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด กับ กนอ. ที่ได้เปิดประมูลเพื่อคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมทุน และบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด เป็นผู้ได้รับเลือก ซึ่งโครงการดังกล่าว รองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว แอลเอ็นจี ปริมาณ 10.8 ล้านตันต่อปีและสามารถขยายได้สูงสุด 16 ล้านตันต่อปี ความยาวหน้าท่ารวม 1008 เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่พัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 ประกอบด้วย 3 ท่าเทียบเรือ ท่าเทียบเรือที่ 1 มีความยาว 385 เมตร รองรับเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติขนาด 100,000-266,000 ลูกบาศก์เมตร ท่าเทียบเรือที่ 2 มีความยาว 238 เมตรรองรับเรือขนส่งขนาด 5,000-40,000 ลูกบาศก์เมตร และท่าเทียบเรือ 3 ความยาว 385 เมตร รองรับเรือขนส่งขนาด 100,000-266,000 ลูกบาศก์เมตร
โครงการดังกล่าวฯ ก็จะมีประโยชน์ในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เพิ่มขึ้นและความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในอนาคตต่อไป
ราขัญ กองทอง ผู้สื่อข่าวจ.ระยอง
วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564
ความคิดเห็นของประชาชน โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ แนวทางการประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น