ใส่บาตรตอนเช้า “ดีต่อใจ” ได้อานิสงส์ 9 ประการ
/สมนึก-วิเศษ/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
อีกหนึ่งภาพประทับใจ สะท้อนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย นอกเหนือจากการสืบสานมรดกวัฒนธรรมแล้ว การทำบุญตักบาตรในช่วงเทศกาล หรือแม้แต่การตักบาตรหน้าบ้านยามเช้า ล้วนแล้วแต่เป็นการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม เพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยอานิสงส์ของการใส่บาตรในตอนเช้า
กล่าวกันว่ามีมากมายถึง 9 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 การใส่บาตรทุกวัน ได้รับอานิสงส์ 5 ประการ ที่ตามพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เป็นที่รักของผู้คนทั้งหลาย,เป็นคนดีมีปัญญาย่อมชอบคบค้าสมาคมด้วย, มีชื่อเสียงที่ดีงาม , เป็นผู้ไม่ห่างไกลธรรม และเมื่อตายแล้วย่อมเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์
ประการที่ 2 การใส่บาตรทุกวันทำให้จิตใจเกาะอยู่กับความดี เป็นการฝึกจิตให้คลุกเคล้าอยู่กับกุศล ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรับรองว่า “ผู้ฝึกจิตดีแล้วย่อมนำสุขมาให้”
ประการที่ 3 เป็นการลดความตระหนี่ถี่เหนียว บรรเทาความเห็นแก่ตัว สร้างใจให้เป็นสุขและสร้างสังคมให้ร่มเย็น การให้ทานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เพื่อกำจัดความตระหนี่ มุ่งสู่ความดีและความเสียสละ
ประการที่ 4 เป็นการต่อบุญต่อลาภให้แก่ตนเอง เพราะการใส่บาตรเป็นการเสริมทานบารมีโดยตรง เป็นการสร้างทางแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยและความคล่องตัวในโลก
ประการที่ 5 เพื่อการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอันเป็นที่รักที่ล่วงลับไปแล้ว อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
ประการที่ 6 เป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเรา เอาไว้ เพื่อความงดงามและมีเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติ
ประการที่ 7 เป็นแบบอย่างการส่งต่อความดีจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้ลูกหลานมีแบบอย่างในการทำความดีสืบต่อไป
ประการที่ 8 เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ประการที่ 9 การใส่บาตรเป็นการสร้างความปรองดองให้กับชาวพุทธ เป็นการหยุดวิกฤตความศรัทธา เพราะถ้าชาวพุทธทุกบ้านพร้อมเพรียงกันใส่บาตร จะเกิดเป็นพลังแห่งความสามัคคีขึ้น ซึ่งพลังดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบสุข ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ความสามัคคีของหมู่คณะ ย่อมทำให้เกิดสุข”
/สมนึก บุญศรี/ร้อยเอ็ด/0817082129-ข่าว
/วิเศษ นันทะศรี/ภาพ
วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ใส่บาตรตอนเช้า “ดีต่อใจ” ได้อานิสงส์ 9 ประการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น