วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564
"อ.พันไมล์" ร่วมบรรยาย "สมุนไพรไทย สร้างอาชีพ สร้างรายได้"
วันที่ 23 มิ.ย. เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคาร 1 ชั้น 2 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานเปิดพิธีและร่วมประชุมปฏิบัติการเรื่อง “พลิกวิกฤต COVID-19 สู่การสร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพรในชุมชนอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยม นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อาจารย์พันไมล์ ชัยเศวตสิริกุล วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรกรมฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
อ.พันไมล์ กล่าว่าได้น้อมนำศาสตร์พระราชาปูพรมลงแผ่นดิน ทำเกษตรอินทรีย์ อาหารไม่อาบยาพิษ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ เป็นฐานรากให้คนไทยได้กินดีอยู่ดี แบบไม่มีเงื่อนไขมนการให้ ถ้าจะพูดถุงการดำรงชีพ ก็ไม่พ้น เรื่องของการกิน จะทำให้กินดีอย่างไร กินยังไงให้เป็นยา ดีต่อสุขภาพ
ตนจึงลงพื้นที่ไปใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน เพื่อสอนและพัฒนาให้ตนเองให้ห่างไกลจากสารพิษตนได้จัดตั้งโครงการสมุนไพรไทยเพื่อการแพทย์ไม่อาบยาพิษ โดยการประชุมครั้งนี้ที่จัดโดยกรมแพทย์แผนไทยฯสอดคล้องอย่างมาก และมาในยุคนี้ ยุคcovid19 เป็นวิกฤติอันใหญ่แต่ตนมองว่าในเมื่อมีวิกฤตมันก็ต้องมีโอกาส ทำให้โลกทั้งใบหยุด หยุดหันมาตนเองและครอบครัว ตนมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งคนทั้งโลกเชื่อมั่นว่าประเทศไทยเก่งในเรื่องเกษตรกรรม
ถ้าเราทองย้อนถึงสมุนไพร พืชท้องถิ่นของไทย ทุกตัว สามารถรักษาโรคมะเร็งได้หมดเกือบทุกตัว ถ้าพูดถึงคนไทยนั้นเก่งมาก ขิง ข่า ตะไคร้ ที่อยู่ในต้มยำ ซึ่งทุกอย่างที่เรากินลงไป ล้วนแต่เป็นอาหารทางยาทั้งสิ้นแต่คนส่วนใหญ่จะเพิกเฉย ส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีคุณสมบัติรักษาโรค ผู้หญิงกินแล้วไม่แก่ ผู้ชายกินแล้วแข็งแรง ซึ่งต้องขอบคุณกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่หยิบยกเรื่องสมุนไพร มาต่อยอดให้ชาวเกษตร โดยทางชาวเกษตรไม่ต้องกังวลอีกต่อไปว่าปลูกแล้วจะนำไปขายที่ไหน ถ้าเรามองถึงจะนำสมุนไพรไทยมาใช้ในเชิงการแพทย์ ยกตัวอย่าง กระชายขาว ไม่เพียงป้องกันจากcovid แต่สามารถยับยั้งเชื้อcovid19ได้เป็นอย่างดีกล่าวทิ้งท้าย
สำหรับโครงการพลิกวิกฤต COVID-19 สู่การสร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพรในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมเกษตรสมุนไพรวนเกษตร 10 แห่ง (จังหวัดเชียงราย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี อุทัยธานี อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครพนม ชุมพร และจังหวัดพัทลุง) ผู้ประกอบการ OTOP 250 ราย วิสาหกิจชุมชนและประชาชน 2,500 คน เพื่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ รองรับสถานการณ์ COVID-19 และหลังสถานการณ์ COVID-19 ส่งเสริมพัฒนากลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ให้มีความรู้ในการปลูกสมุนไพรวนเกษตร เกษตรกรรมยั่งยืน ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ก่อให้เกิดรายได้จากเดิม สนับสนุน การแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรและสารสกัดให้มีมาตรฐานสามารถส่งออกต่างประเทศได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น