วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

บุรีรัมย์ รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ ให้กำลังเกษตรกร พร้อมมอบเวชภัณฑ์ยา เร่งจัดสรรกระจายวัคซีนป้องกัน (มีคลิป)



รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรค ลัมปีสกิน ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เผยขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้เร่งจัดสรรวัคซีนเพื่อกระจายไปยังจังหวัด ต่างๆ อย่างทั่วถึง ซึ่งในส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ก็จะได้รับจัดสรร จำนวน 5,000 โดส และเตรียมจะสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน สำหรับโคนมโดยเฉพาะอีกด้วย หลังพบวัวป่วยตายแล้วกว่า 900 ตัว และยังมีวัวของชาวบ้านป่วย จำนวน 188 ตำบล 905 หมู่บ้าน อีกร่วม 2 หมื่นตัว รวมยอดสัตว์ป่วยสะสม กว่า 36,000 ตัว

เมื่อวันที่ 26.มิ.ย.64 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางวันเพ็ญ เศรษฐรักษา ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ลัมปีสกิน และการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบที่ ต.ชุมเห็ด อเมือง และที่ ต.บ้านปรือ อ.กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายอภิชาติ สุวรรณชัยรบ ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมกว่า 200 คน ทั้งนี้เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค ลัมปีสกิน เป็นการช่วยเหลือความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่เกษตรกร ในโอกาสเดียวกันนี้ รมช.เกษตรฯ ได้มอบเวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งชมการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในคอกโค และปล่อยขบวนป้องกันและกำจัดโรคลัมปีสกิน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้เกษตรกรด้วย

 







นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ามีนโยบายสำคัญและเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน โดยมอบหมายให้กรมปศุสัตว์เร่งควบคุมและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรค พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย และจะจัดสรรวัคซีนในแต่ละพื้นที่ตามสถานการณ์การระบาด รวมทั้งได้มีการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ในการกระจายอุปกรณ์ฉีดพ่นยา เวชภัณฑ์ยาไปสู่เกษตรกร และให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง





ซึ่งโรคดังกล่าวไม่สามารถติดต่อสู่คนได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดทางผิวหนัง เมื่อโค กระบือ รักษาหายแล้ว เนื้อสามารถรับประทานได้ นมสามารถดื่มได้จึงขอให้ประชาชนมั่นใจ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งจัดสรรวัคซีนเพื่อกระจายไปยังจังหวัด ต่างๆ อย่างทั่วถึง ซึ่งในส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ก็จะได้รับจัดสรร จำนวน 5,000 โดส และเตรียมจะสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน สำหรับโคนมโดยเฉพาะอีกด้วย ส่วนการให้ความช่วยเหลือ จะเร่งผลักดันให้ความช่วยเหลือตามระเบียบที่ทางราชการกำหนดต่อไป





นาง จำปี กิ่งทอง อายุ 40 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคและได้รับผลกระทบจากโรคระบาดลัมปีสกีน กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจมาก ที่ท่าน รมช.เกษตรฯ ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบโรคระบาดลัมปีสกีน เดินทางลงพื้นที่มาให้กำลังใจพร้อมมอบยาเวชภัณฑ์ให้ชาวบ้านด้วยตัวท่านเอง ตอนนี้ตนและชาวบ้านรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่าโคที่เลี้ยงไว้จะหายจากโรคระบาดนี้อย่างแน่นอน ด้านนาย อภิชาต สุวรรณชัยรบ ปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า สำหรับสถาณะการณ์โรคระบาดลัมปีสกีนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตอนนี้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้แล้ว กล่าวคือประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เกี่ยวกับโรคลัมปีสกีน ไม่ติดต่อถึงคน รักษาหายเนื้อสามารถบริโภคได้



ซึ่งโรคนี้มีภาหะจากแมลงดูดเลือด และเกิดระบาดช่วงหน้าฝนทำให้มีแมลงเยอะกว่าปกติ โดยปัจจุบันมีรายงานในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รวม 238,087 ครัวเรือน เลี้ยงโค-กระบือ จำนวน 89,254 ราย เป็นโคเนื้อ 393,309 ตัว โคนม 6,785 ตัว และกระบือ 135,975 ตัว สถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่เกิดโรค จำนวน 188 ตำบล 905 หมู่บ้าน เกษตรกร จำนวน 26,025 ราย สัตว์ป่วยสะสม จำนวน 36,994 ตัว รักษาหายแล้ว จำนวน 22,195 ตัว สัตว์ตาย จำนวน 917 ตัว คงเหลือสัตว์ป่วย 13,882 ตัว สำหรับสถานการณ์ ณ วันที่ 25 มิ.ย.64 สัตว์ป่วยคงเหลือ 19,969 ตัว สัตว์ตายสะสม 1,095 ตัว ด้านการช่วยเหลือ ตอนนี้ได้สำรวจสัตว์ที่ป่วยโรคลัมปีสกีนให้ถูกต้อง ซึ่งทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์เน้น ความถูกต้อง และต้องเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรอย่างถูกต้องและช่วยเหลือทุกคนต่อไป



https://youtu.be/uhmdo-6P4Ng

วาทิตย์ แสนธุปี//0957874787

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น