วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ตรวจติตตามและเพิ่มศักยภาพการขับเคลื่อนโครงกร SMART TAMBON ที่ ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย

ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ตรวจติตตามและเพิ่มศักยภาพการขับเคลื่อนโครงกร SMART TAMBON ที่ ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย



เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เวลา 09.30 น. นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการตรวจติตตามและเพิ่มศักยภาพการขับเคลื่อนโครงกร SMART TAMBON ที่ ต.คำพอุง(คำ-พะ-อุง) อ.โพธิ์ชัย พร้อมด้วยนายสนอง ดลประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด นายเอกภาพ พลซื่อ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ และกลุ่มเกษตรกร ตำบลคำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย เข้าร่วมกิจกรรม
นายกรกฎ บุญญามิ่ง นายอำเภอโพธิ์ชัย กล่าวว่า ตามที่จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด และภาคีเครือข่าย ได้ตกลงทำความร่วมมือโครงการส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ตำบล คำพอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เรียกว่า "โครงการ SMART TAMBON" เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ปัจจุบัน ตำบลคำพอุง และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ SMART TAMBON





จนมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และองค์ความรู้ต่างๆ สามารถเป็นแบบอย่างที่จะขยายผลไปยังเกษตรกรผู้สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไปได้ เพื่อยกระดับการพัฒนาตำบลคำพอง ให้เป็นตำบลต้นแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีเป้าหมายการคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ภายใต้แนวคิดการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ใน 5 มิติ คือ มิติเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการศึกษา เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรม และติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลต้นแบบ อำเภอโพธิ์ชัย จึงได้จัดทำโครงการตรวจติดตามและเพิ่มศักยภาพ (Upside Potential) หน่วยงานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของตำบลคำพอุง กระตุ้นกลไกหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ภาคส่วนต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน รวมทั้งเพื่อสนับสนุนในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
ทั้งนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือประชาชนในชุมชนตำบลคำพอุง และส่วนราชการ หน่วยงานภาคีเครือข่าย มีความเข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของตำบลคำพอุง เกิดการกระตุ้นกลไกหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงาน ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดทำแผนและขับเคลื่อนการดำเนินงาน และชุมชนตำบลคำพอุงมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสามารถเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน



////
ทีมข่าวสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น