วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567

(มี​คลิป)​ ประธานกองทุนแม่ฯ "สืบฮีตสานฮอยล้านนา" ถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ปี 67

 ประธานกองทุนแม่ฯ "สืบฮีตสานฮอยล้านนา" ถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ปี 67
































เมื่อ​วันที่​ 9 เม.ย.2567 เวลา 09.09 น.  ที่ศูนย์ประสานงานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่  นายสว่าง ธาตุอินทร์​จันทร์ ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ และ ประธาน​กองทุนแม่ของแผ่นดิน 8 จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน)​ ได้จัดพิธีทำบุญถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ถวายเพลพระ พร้อมด้วยเครื่องสักการะ คาวหวาน แด่เทพเทวา โดย มีการแห่มหรสพ​ดนตรีพื้นเมือง และรำถวาย อย่างสวยงาม ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก "พระอธิการชาญชัย กนฺตวีโร" เจ้าอาวาสวัดร้องอ้อ นำคณะฯ "​ฮีตล้านนาดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่" เข้าร่วมในพิธีครั้งนี้ มีการฟ้อนรำถวายแก่เทพเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  การรำฟ้อนเมืองสักการะ​บรมครู, การรำขันดอก, และการรำฟ้อนทีหรือฟ้อนร่ม ของคณะ "​ฮีตล้านนาดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่" ควบคุมการดำเนินการฟ้อนรำและบรรเลงมหรสะโดย​ พระสะหลียศ พระลูกวัด "วัดร้องอ้อ"  เพื่อถวายสักการะแก่บรมครู​บาอาจารย์​ประจำปี 2567 โดยมีชาวบ้านและลูกศิษย์​เข้ามาร่วมพิธีในครั้งนี้กันอย่างพร้อมเพียง


 


นายสว่าง ธาตุอินทร์​จันทร์ ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่และ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน กล่าวว่าตามหลักวิถีชีวิตของชาวล้านนา การจัดทำพิธีกรรมเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราเคารพนับถือนั้นมีมาช้านานแล้ว เป็นการถวายการสักการะ หรือคาระวะครูบาอาจารย์หรือพ่อปู่ของศาสนาพุทธ และพราหมณ์โดยมีการประดิษฐ์เครื่องสักการะ สำหรับใช้ในพิธีกรรมขึ้น เครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมของชาวล้านนานั้น มีด้วยกัน 5 ประการ  ซึ่ง​การประดิษฐ์เครื่องสักการะทั้ง 5 ประการนั้น ทำให้เห็นว่า ชาวล้านนามีความคิดที่ลึกซึ้งและรู้จักใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการทำความเคารพต่อสิ่งที่ตนให้การสักการะและบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึง​บรมครูอาจารย์


 


โดยพิธีทำบุญถวายเครื่องสักการะ บรมครูอาจารย์ ได้จัดทำขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง (ช่วงเทศกาลสงกรานต์) ​เพื่อบรวงสรวงครู​บาอาจารย์​ที่ประสิทธิ์​ประศาสน์​วิชาให้ อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้ในปีใหม่ที่จะถึงให้ประสบแต่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน รวมไปถึงกิจการเจริญรุ่งเรืองตลอดทั้งปี ซึ่งตนเองได้สืบทอดประเพณีบูชาบรมครูแบบ​ล้านนา พร้อมทั้งสืบทอดตำนานจุดเทียนมงคล สืบชะตา สะเดาะเคราะห์​ ตามตำนานโบราณล้านนา เพื่อจุดในพิธีนี้ด้วย คนล้านนาเรียกว่า "ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้า" โดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ และการจุดเทียนยังถือว่าเป็นการสืบชะตาให้แก่ตัวเรา ให้รุ่งเรืองรุ่งโรจน์ ประดุจเปลวไฟในปีใหม่ที่มาถึงนี้ จะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า แต่ต้องระมัดระวังเรื่องฟื้นไฟในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน สำหรับการจัดพิธีถวายเครื่องสัการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามหลักศาสนาพุทธและพราหมณ์ บูชาบรมครูบาอาจารย์มีการจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการ "สืบฮีตสานฮอยล้านนา" ร่วมไปถึงยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์​วัฒนธรรมประเพณีล้านนาของชาวเหนือที่หาดูได้ยากในยุคโซเชียล สังคมปัจจุบัน จึงต้องมีการอนุรักษ์งานประเพณีสืบต่อไป นายสว่าง ประธานกองทุนแม่ฯกล่าว.

https://youtu.be/Ft9qKttnxPY?si=jYVuwxrdqlX9ydMS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น